การปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(ประโยชน์ของสมาธิ)



สิ่งที่เราปรารถนามันอยู่ในตัว
แต่เราเข้าใจผิด
คิดว่าอยู่นอกตัว

๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

------------------------------

ความสุขทางโลกไม่มี
มีแต่ความเพลิน
กับความเพลีย

๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕

------------------------------

สุขที่เกิดจากสมาธิ
เป็นสุขที่ไม่ซ้ำกันเลย
เป็นสุขที่ยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ
กว้างขวางใหญ่โตยิ่งๆ ขึ้นไป

๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การทำใจหยุดใจนิ่ง
มีแต่ได้ประโยชน์อย่างเดียว
ทุกข์โทษไม่มีเลย

๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเมื่อไรกายกับใจสามัคคี
รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
สิ่งที่เป็นอจินไตย
ที่ใครๆ คาดไม่ถึงจะเกิดขึ้น

๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้ามนุษย์ทั่วโลกเข้าใจว่า
เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
หรืออย่างน้อยมาสร้างบารมี
โลกจะหมุนไปในทางบวกเลย
เสียดายว่า…ชาวโลกแสวงหาความรู้ที่
ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงสักเท่าไร
แล้วก็ทุ่มเททรัพยากรไปเพื่อสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็น
ประโยชน์ ถ้าหากเขาทุ่มเททรัพยากรมาเพื่อให้
มวลมนุษยชาติค้นคว้าความรู้ที่แท้จริง เพื่อไป
สู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้ ถ้าคิดอย่างนี้
พร้อมกันเมื่อไร โลกก็เกิดสันติสุขในตอนนั้นเลย

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา
เริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗
ด้วยวิธีการหยุดนิ่งเฉยที่ศูนย์กลางกาย
ซึ่งเป็นปากทางที่จะเข้าไปถึงพระในตัว
พอถึงพระในตัวแล้ว
จะเปลี่ยนแปลงจากผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้
คนโง่กลายเป็นคนฉลาด
สิ่งที่ถูกปกปิดก็จะถูกเปิดเผย
เมื่อเข้าถึงพระในตัว

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระในตัวนั้นสำคัญมาก
เพราะท่านอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา
ถ้าเราเข้าถึงท่านยังไม่ได้
ชีวิตยังไม่อบอุ่น ยังไม่ปลอดภัย
ถึงแม้จะมีพระนอกตัวให้เคารพกราบไหว้บูชา
มันทราบแต่มันยังไม่ซึ้งถึงใจ
แต่จะให้ซาบซึ้งถึงใจ
ก็ต้องเข้าถึงพระภายในให้ได้

๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราเข้าถึงพระในตัวได้
เราก็จะมีที่พึ่ง
มีความสุขกายสบายใจทันทีที่เข้าถึง
เราจะอบอุ่นใจ จะรู้สึกปลอดภัย
พระในตัวนอกจากจะให้ความสุข
ทันทีที่ได้เข้าถึงแล้ว
ยังเป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์
โดยเฉพาะดุสิตบุรี วงบุญพิเศษ
ที่เราปรารถนาจะไปกัน

๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

คนมีธรรมะไม่มีเหงา
ถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรม
บำเพ็ญสมณธรรมให้ดีแล้วจะไม่เหงาเลย
ไม่มีใครคุยด้วย...เราก็นั่งหลับตา
คุยกับพระในตัวก็ได้ ดวงแก้วก็ได้
ถ้ายังไม่เห็น...ก็คุยกับความมืดภายใน
ฟังเสียงในใจเงียบๆ ที่อยู่ในความมืด
หรือมีเสียง “สัมมาอะระหัง” ภายในใจ
แค่นี้ก็ไม่เหงาแล้ว

๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ไม่มีใครคุยด้วย
ก็คุยกับตัวเอง
ด้วยคำว่า
“สัมมา อะระหัง”

------------------------------

รักธรรมะเอาไว้ให้มากๆ
ธรรมะนี่แหละจะช่วยเราได้ทุกสิ่ง
ช่วยได้ทั้งในปัจจุบัน
ช่วยทั้งตอนกำลังจะละโลก
ช่วยทั้งตอนที่มีชีวิตใหม่หลังจากตายแล้ว
รวมไปถึงภพชาติถัดๆ ไป

๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------


การปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(วิธีการปฏิบัติธรรม)

นั่งหลับตาทำสมาธิ
อย่าไปตั้งใจมาก
และอย่าไม่ตั้งใจเลย
ตรงนี้สำคัญนะ

๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

เราต้องช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัปปายะ
เกื้อกูลต่อการเข้าถึงธรรมยกชั้น
คือ บรรยากาศต้องสบายๆ
ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความรัก ความสามัคคี
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อย่างนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงธรรมได้ง่าย
เพราะเวลาเรามานั่งธรรมะ
จะได้ไม่เสียเวลาไปนั่งฟุ้งขุ่นมัวอะไรอยู่ในใจ

๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

ไม่ลุ้น ไม่เร่ง ไม่เพ่ง ไม่จ้อง
ไม่เน้นภาพ ไม่เค้นภาพ เพื่อที่จะให้ชัดดังใจเรา
มีให้ดูแค่ไหนให้พึงพอใจแค่นั้นไปก่อน
ให้ดูอย่างสบายๆ ธรรมดาๆ
เหมือนเราดูต้นหมากรากไม้
ภูเขาเลากา หรือดูทิวทัศน์อย่างนั้น

๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

ดวงแก้ว องค์พระ มีอยู่ในตัวแล้ว
แต่เราไม่เห็น
เพราะใจเราไม่นิ่ง
แต่พอนิ่ง...เป็นเห็น

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

บทเรียนแรก ชะลอใจ
ธรรมดาเราจะไปเบรกรถอย่างกะทันหันคงไม่ได้
ต้องค่อยๆ ชะลอรถ จนกระทั่งรถจอดสนิท
การจะไปบังคับใจให้มันหยุดคิดเลยก็ไม่ได้
ต้องให้ใจสมัครใจที่จะหยุดนิ่ง
ก็คือต้องค่อยๆ ชะลอความคิดนั้น
อย่างนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ
ผ่อนคลาย หยุดนิ่ง จนกระทั่งดวงเกิด

๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

บทเรียนที่สอง ดูไปด้วยใจสบาย
มีอะไรให้ดู ก็ดูไป อะไรก็ได้
...whatever
แล้วเมื่อไรจะได้สิ่งที่อยากดู เมื่อไรก็ได้
...whenever
แล้วอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่ชอบมาก อย่างไรก็ได้
...however

๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

เวลาล้มตัวลงนอน อย่านอนเฉยๆ
ให้มองดูองค์พระของเราเรื่อยไป
หมั่นหยุดนิ่งอยู่ในกลางท่าน
ท่านจะขยายครอบคลุมตัวเราไปเลย
เราก็จะได้หลับอยู่ในกลางองค์พระ
อย่างมีความสุข

๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เมื่อตื่นขึ้นมาต้องตื่นอยู่ในกลางองค์พระ
ให้เห็นพระชัดใสแจ่มทีเดียว
พอลุกขึ้น ล้างหน้า แปรงฟัน
ใจก็ยังอยู่ตรงกลางนั้น ฝึกไว้เรื่อยๆ
อาบน้ำอาบท่า ขับถ่าย ก็อยู่ตรงกลางองค์พระ
กระทั่งถึงเวลารับประทานอาหาร
หรือจะเดินทางมาที่ทำงาน
ก็ยังตรึกยังนึกไปเรื่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติ

๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

จะนึกคำว่า “พระ” ก็ได้ แม้ไม่เห็นพระ
จะนึกคำว่า “ดวง” ก็ได้ แม้ไม่เห็นดวง
หรือจะนึกคำว่า “บุญ” ก็ได้ แม้ไม่เห็นอะไร

๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ในฐานะเราเป็นมนุษย์
ความมืด ความเมื่อย ความฟุ้ง
ความง่วง ความท้อ เบื่อบ้าง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันมีเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
นั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา
แต่ว่าเบื่อเพียงไรก็ตาม อย่าเลิกนั่ง
ฝึกไปเรื่อยๆ ปรับใจไป หมั่นสังเกตว่า
เราวางใจขนาดไหน มันพอดี
ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป
รู้สึกว่าอยู่อย่างนี้พึงพอใจ นั่นใช้ได้แล้ว
รักษาความพึงพอใจนั้นให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

วันนี้เราพึงพอใจได้ ๕ นาที
วันพรุ่งนี้ฝึกใหม่ ฝึกไปเรื่อยๆ
แม้วันพรุ่งนี้จะดีไม่เท่าวันนี้...ก็ช่าง
หรือดียิ่งกว่าวันนี้...ก็ช่าง
คือเฉยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ
จะล้มลุกคลุกคลานอย่างไร เราก็ฝึกไป
นี่เป็นทางมาแห่งบารมีของเรา

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ให้พยายามทำความเพียรไปเรื่อยๆ
รักที่จะทำ ทำทุกวัน ทำทั้งวัน ควบคู่กับภารกิจ
และหมั่นสังเกตว่า เราตั้งใจมากเกินไปไหม
หรือทำความเพียรย่อหย่อน
ไม่ปะติดปะต่อ ไม่ต่อเนื่อง ทำๆ หยุดๆ
ทั้งสังเกตดู แล้วก็รีบแก้ไขปรับปรุง
ประเมินผลการปฏิบัติธรรมทุกวัน
อย่างนี้มันก็จะก้าวหน้า

๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ใครยังทำความเพียรไม่สม่ำเสมอ...ฟิต ฝ่อ ฟู
คือ พอเริ่มต้นเข้าพรรษาก็ฟิต
กลางๆ ก็ฝ่อ พอเชียร์หน่อยก็ฟู
พอใจฟูขึ้นมา ก็ลุยกันทีหนึ่ง
มันต้องฟิต ฟิต ฟิต ต้องเอาจริงเอาจัง
แล้วก็มาดูว่า ทำถูกหลักวิชชาไหม
ตรงนี้สำคัญนะ

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลักวิชชาคือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ”
หมายถึง จะเข้าถึงพระธรรมกายภายในได้นั้น
ใจต้องหยุด ถ้าใจไม่หยุดจะเข้าถึงไม่ได้เลย
ต้องหยุดคิด หยุดพูด หยุดทำอะไรทั้งสิ้นเลย
เหมือนไม่ได้ทำอะไร
แค่นิ่งๆ เฉยๆ สบายๆ เท่านั้น
เดี๋ยวเราก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา
ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ต้อง “หยุด” อย่างเดียวเท่านั้น
ไม่หยุดไม่ถึงพระ...หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จ
หยุดตรงนั้น หยุดในระดับที่ปลอดความคิด
และมีความโปร่งโล่งเบาสบาย
ณ ตรงนั้นใจจะสบายๆ
ไม่มีความคิด ไม่มีจินตนาการ

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หยุดตอนไหน ถึงตอนนั้น
เป็นอกาลิโก
ไม่กำหนดกาลเวลา

๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าอยากหยุด ต้องหยุดอยาก
ถ้าอยากหยุดใจได้
เราต้องหยุดอยาก
หยุดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
หยุดอย่างเดียวจึงจะเข้าถึงได้

๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าใจยังไม่เป็นระเบียบ มันหยุดยาก

๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

เราจะทำมาหากินอะไรก็ทำไปเถอะ
มีเวลาสัก ๑ หรือ ๒ นาที
ก็นึกภาพองค์พระกลางดวงแก้ว*
นึกเล่นๆ เพลินๆ ให้ใจมันคุ้นกับการนึก
จะทำให้ใจเราไปเชื่อมโยงกับอานุภาพ
อันไม่มีประมาณของพระรัตนตรัย
ด้วยอานุภาพนี้จะทำให้เรา
สมหวังดังใจในทุกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม
ในธุรกิจการงานที่เป็นสัมมาอาชีวะ
ในชีวิตครอบครัว
ในการแสวงหาความสุขที่แท้จริงก็จะสมหวัง

๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

*ฝึกมองแบบ top view คือ มองจากเศียรลงไป เหมือนพระท่านนั่ง
ในกลางท้อง หันหน้าไปทางเดียวกับเราตามภาพ

------------------------------

ภาพองค์พระกลางดวงแก้วเป็นภาพที่สำคัญ
ต้องจำนะ และนำติดตัวไว้ให้ดี
เอาใบเล็กๆ ใส่กระเป๋าไว้
ใบใหญ่ติดไว้ข้างฝาตรงไหนสักแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่รวมประชุมของคนในครอบครัว
จะได้ดูองค์พระ ใจจะได้ใส สะอาด บริสุทธิ์
เป็นทางมาแห่งความสุข
และความสำเร็จในชีวิตของทุกคน

๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง
นิ่งอย่างเดียว เดี๋ยวก็ได้
ง่ายนิดเดียว

๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

------------------------------

เราจะนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วก็ได้
แต่ต้องนึกให้เป็น ไม่ใช่ไปเค้นภาพ
หรือไปบีบ ไปเค้น ไปเพ่ง ไปจ้อง
อย่างนั้นปวดหัว ไม่ถูกหลักวิชชา
ให้นึกธรรมดาๆ นึกง่ายๆ
เหมือนเรานึกถึงดอกกุหลาบ ดอกบัว
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว
ถ้าเรานึกเป็นจะไม่ปวดหัวเลย
ให้นึกธรรมดาๆ นึกง่ายๆ อย่างนี้

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วิธีแสวงหาทรัพย์ทางโลกกับทางธรรม
...กลับตาลปัตรกัน...
วิธีแสวงหาทรัพย์ทางโลกต้องเคลื่อนไหว
แต่วิธีการหาอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน
ต้องนิ่ง ต้องไม่เคลื่อนไหว
ไม่คิด ไม่พูด ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น
แค่หยุดนิ่งเฉยๆ จึงจะเข้าถึงอริยทรัพย์ภายใน
ซึ่งเป็นเครื่องปลื้มใจของพระอริยเจ้า

๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลักวิชชาในการเข้าถึงพระธรรมกายในตัว
ที่จริงก็ไม่มีอะไรมาก
ง่ายกว่าเรียนทางโลกเสียอีก
ไม่ต้องท่อง ไม่ต้องอ่าน
ไม่ต้องนึก ไม่ต้องคิด
ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้นเลย
แค่ทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
อย่างนี้...แค่นี้...เท่านั้น
ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้
เดี๋ยวก็ถูกส่วนเอง

๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

๔ ส. สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกต
ให้มีสติ คือ เอาใจมาอยู่กับตัวของเรา
มาหยุดมานิ่งภายในอย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่อง
ทั้งวันทั้งคืน เหมือนเป็นผู้มีราตรีเดียว ทำอย่าง
สม่ำเสมอทั้งวันทั้งคืนเลย แล้วก็สังเกตว่า
เราทำถูกหลักวิชชาไหม ตั้งใจมากเกินไปไหม
อยากได้มากเกินไปไหม ระวังหรือเกร็งเกินไปไหม
หรือเราไปต่อสู้กับความฟุ้งหรือเปล่า ให้สังเกต
เดี๋ยวเราจะพบเหตุแห่งความบกพร่องและ
ช่องทางแห่งความสำเร็จ

๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าจะนั่งให้ได้ดีและเร็ว
ต้องหมั่นสั่งสมอารมณ์ดี
อารมณ์ที่เป็นกุศลธรรมที่เป็นบุญ เป็น
ความดีเอาไว้เยอะๆ ซึ่งจะมีผลในตอนปฏิบัติ
ธรรม จะได้มีอารมณ์เดียว ที่ไม่หงุดหงิด งุ่นง่าน
ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ไม่ขัดเคือง ขุ่นมัว คนโน้น
คนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ไม่มี มันขึ้นอยู่กับตรงนี้แหละ
ต้องสั่งสมนะ

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หมั่นนึกทบทวนถึงบุญเก่าๆ
ที่เราได้กระทำผ่านมา...
นึกแล้วใจจะได้ชุ่มชื่น
อย่าไปนึกถึงสิ่งที่ทำให้ใจเราขุ่นมัวหรือแหนงใจ
ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ที่ทำให้ขุ่นมัว
หรือการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ที่นึกแล้วมันแหนงใจ นึกแล้วไม่สบาย
...ก็อย่าไปนึก
ให้นึกถึงแต่สิ่งที่ทำให้เราสบายใจ
ใจใส ใจสะอาด ใจดี
อย่างนี้เรียกว่า สั่งสมอารมณ์ดี

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราทำเฉยได้
เราจะอารมณ์ดีทั้งวันเลย
ใครด่า ใครว่า ก็เฉย
ใครชม ก็เฉย
อะไรๆ มา ก็เฉย
ถ้าทำอย่างนี้ได้
อารมณ์จะดีทั้งวัน
ไม่เชื่อลองเฉยๆ ดูนะ

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ต้องมีฉันทะ รักที่จะเข้าถึงธรรม
รักที่จะมีที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงภายใน
รักที่จะมีความสุข ความบริสุทธิ์
รักที่จะศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต
รักที่จะศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ
หากมีใจรัก มีฉันทะ เราจะทำด้วยความสนุก
บุญบันเทิง เบิกบาน ร่าเริงใจ
ไม่ช้าจะทำกันได้ทุกคน

๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

------------------------------

เรามีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงองค์พระ
เห็นองค์พระได้ทุกวัน
วันหนึ่งมีสิทธิ์จะเข้าถึงได้หลายครั้ง
ครั้งไหนที่เรานึกถึงพระ
เรามีสิทธิ์เห็นพระ
เรามีสิทธิ์ทุกครั้ง...ที่เรานึกถึง

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เห็นเอง
เพราะพระรัตนตรัยมีอยู่แล้วในตัว
หลักวิชชาก็มีอยู่แล้ว
เหลือแต่ว่าเราจะขวนขวายแค่ไหน
ขยันหรือขี้เกียจ ถ้าขยันก็ถึงได้เร็วหน่อย
ถ้าขี้เกียจก็ถึงช้า
บางทีช้าข้ามภพข้ามชาติกันทีเดียว

๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้านึกได้...ก็เห็นได้
เห็นไม่ได้...เพราะเราไม่ได้นึก
ถ้าเราได้กินข้าวก็อิ่มได้
ถ้าเราไม่ได้กินก็ไม่อิ่ม ก็ง่ายๆ แค่นั้น
แต่เราก็นึกกันไม่ค่อยถึง
แต่ชัดหรือไม่ชัดนั่นอีกเรื่องหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับว่าใจเราละเอียดแค่ไหน
ถ้าใจเราหยาบภาพก็จะไม่ค่อยชัด
ใจละเอียดมันก็ชัดขึ้น

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

เห็นองค์พระแล้ว
ไม่ว่าจะเห็นแบบไหนก็อย่าทิ้ง
บางคนพอเห็นว่า ไม่ใช่พระธรรมกาย
ไม่ใช่ อย่างนี้ไม่เอา อย่าคิดอย่างนั้นนะ เห็นพระ
ได้ก็บุญเหลือหลายแล้ว แม้ยังเข้าไม่ถึง
พระธรรมกาย เห็นองค์พระอ้วนๆ ท้วมๆ แค่นั้น
ก็ปิดประตูอบายแล้ว เพราะใจผ่องใส แสดง
ว่าจิตต้องเลื่อมใสในพระรัตนตรัยพอสมควร
ภาพอย่างนี้จึงเกิดขึ้นได้

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การที่เห็นองค์พระได้
แสดงว่าใจต้องหยุดในระดับหนึ่งแล้ว
แม้จะยังไม่สมบูรณ์
แต่ว่า ณ จุดตรงนั้น ถ้าทำความเพียรกันต่อไป
ไม่ช้าก็จะเข้าถึง
พระธรรมกายในตัวได้

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หมั่นเช็ดถูพระในตัวบ้าง
เช็ดถูด้วยใจ
หยุดนิ่งๆ ชำเลืองดูเรื่อยๆ
นั่นแหละเนื้อนาบุญ...ที่สำคัญที่สุด

๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

นึกบ่อยๆ...ก็นึกได้
นึกได้บ่อยๆ...ก็เห็นได้
เห็นได้บ่อยๆ...ก็เข้าถึงได้
เข้าถึงได้บ่อยๆ...ก็ศึกษาได้
มันมีขั้นตอนอย่างนี้
เขาทำกันได้เยอะแยะ
เราเป็นคนเช่นเดียวกับเขา
ถ้ามีความเพียรไม่น้อยหน้าเขา
เราก็ต้องทำได้

๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี
ถ้าเราอยากเห็นธรรมะเร็ว
ก็ต้องเอาใจไว้ที่กลางกายเรื่อยๆ บ่อยๆ
ถ้าอยากจะเห็นภายใน ๗ วัน
ก็ต้องว่ากันทั้ง ๗ วัน
อยากเห็นภายใน ๗ เดือน
ก็ค่อยๆ หย่อนลงไปเรื่อยๆ
อยากเห็นภายใน ๗ ปี ก็ยืดไปอีก
อยากเห็นตอนก่อนตาย...นานๆ ก็ทำสักทีหนึ่ง

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้าเรานึกถึงเรื่องละเอียด
ใจก็จะละเอียดตามไปด้วย
ถ้าเราพูดเรื่องละเอียด
ใจก็จะละเอียดตามไปด้วย

๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เวลานั่งธรรมะ...อย่าตั้งใจมากจนเกินไป
ไม่ต้องไปเสียดายประสบการณ์ที่เราเคยนั่งแล้วดี
เพราะจะทำให้เราไปเร่งอย่างผิดวิธี
เราต้องฝึกปล่อยวาง เพื่อให้ใจได้รับความสุขบ้าง
ไม่อย่างนั้น...ใจของเราก็จะไม่มีความสุข

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ถ้าช่วงไหนเรานั่งดี ก็อย่าดีใจจนเกินไป
ให้รักษาใจให้พอดีอย่างถูกหลักวิชชา
แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจเรา
ไม่เห็นประสบการณ์ภายใน ก็อย่าหงุดหงิด
ให้ทำเฉยๆ อย่างสบายๆ
ให้ใช้ ๒ คำคือ “ช่างมัน”
Let it be ปล่อยให้มันเป็นไป

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

“ทางสายกลาง”
จะต้องไม่โต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง
ไม่ซ้าย ไม่ขวา มันต้องพอดี...พอดี
เราจะเอาชนะมันตรงนี้แหละ
ถ้าไม่โต่ง...เราจะเข้าไปสู่ภายในได้
แต่มันจะคอยดึงใจเราให้โต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง
เราจึงจำเป็นต้องปล่อยวาง
เพื่อเปิดช่องให้ใจได้รับความสุขบ้าง
เราถึงจะเข้ากลางได้

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่า
พระอยู่ในเรา เราอยู่ในพระ
เราเป็นพระ พระเป็นเรา

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ทุกครั้งที่เรานึกถึงพระ
ใจเราจะสูงขึ้น ประณีตขึ้น
ถูกกลั่นให้บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ทำใจให้เหมือนเด็กๆ
แล้วจะได้ง่ายๆ อย่างเด็กๆ
ทำไมเด็กได้ง่าย
เพราะเด็กใจอยู่กับเนื้อกับตัว
ผู้ใหญ่ทำไมได้ยาก
เพราะผู้ใหญ่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้ารักที่จะเข้าถึงธรรมกันจริงๆ
ใจต้องปล่อยวาง
ถ้าปล่อยวางได้วินาทีนี้
...ก็จะได้วินาทีนี้

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------


การปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(ให้กำลังใจ)

พวกเราเป็นผู้มีบุญมาก
บุญเก่าเรามีเพียงพอ
เหลือแต่ปัจจุบันนี้
จะต้องประกอบความเพียรให้เต็มที่เต็มกำลัง
และต้องทำให้ถูกหลักวิชชาด้วย
จึงจะได้ผล ได้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน
...จำตรงนี้ให้ดี...

๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

แม้ความรู้สึกของเราว่า
ไม่เห็นจะก้าวหน้าอะไร
ไม่เห็นมีอะไรใหม่
แม้เราจะรู้สึกอย่างนี้ก็ตาม...
แต่ความละเอียดจะถูกสั่งสมเอาไว้ในใจ
บุญเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราลงมือปฏิบัติ
โดยที่เราไม่รู้ตัว
กายวาจาใจของเราจะถูกกลั่น
ให้สะอาดแล้วสะอาดเล่า
บริสุทธิ์แล้วบริสุทธิ์เล่าเพิ่มขึ้นทุกวัน

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เรามีเวลาไม่มากที่จะอยู่ในโลกนี้
ให้ใช้วันเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้
สร้างบารมีกันให้เต็มที่
ให้ชีวิตมีคุณค่าด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม
ฝึกฝนอบรมใจของเราให้หยุดนิ่ง
ให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัวให้ได้กันทุกคน

๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

อย่าท้อถอยนะ
เราได้ลงทุนปฏิบัติธรรมมาในระดับหนึ่งแล้ว
ก็ต้องเดินทางกันต่อไป
อย่าให้ผังแห่งความไม่สำเร็จ
หรือทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ไม่ตลอดรอดฝั่ง
อย่าให้ผังนี้ติดไปข้ามภพข้ามชาติ
ต้องเอาผังที่ว่า…
เราพยายามทำความเพียรอย่างเต็มที่
ถูกหลักวิชชา
ส่วนผลที่ได้มันได้แค่ไหน...ก็แค่นั้น

๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

อะไรจะมาสู้ความเพียร
ขยันทำกันไปเรื่อยๆ
แต่ต้องขยันให้ถูกหลักวิชชา
สิ่งที่ยากก็ง่าย
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ มันก็จะเป็นไปได้
มืดก็จะสว่าง ทุกข์ก็จะมาเป็นสุข
จากผู้ไม่รู้ก็จะมาเป็นผู้รู้
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับ
ความเพียรพยายามของเรา

๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ* ท่านพูดเสมอว่า
“ของจริงคู่กับคนจริง”
จริงแค่ไหน ก็ต้องแค่ชีวิตซิ
เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป
เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน
ไม่ได้ตายเถอะ ต้องจริงนะลูกนะ

๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

*พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร

------------------------------

หยุดกับนิ่ง...
ขึ้นอยู่กับความขยันหรือขี้เกียจ
ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเรา
ถ้าเราเต็มใจ สมัครใจอยากจะเข้าถึงก็ถึง
ถ้าไม่สมัครใจที่จะเข้าถึงก็ไม่ถึง
แล้วแต่เราจะปรารถนาอย่างไรก็ไขว่คว้าเอา
ชีวิตเราเราก็ต้องดีไซน์ของเราเอง

๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

มีอิริยาบถหนึ่งที่พญามารกลัวนัก
คือ อิริยาบถนั่งสมาธิ
เพราะกลัวคนใจหยุด
คนใจหยุดนี่พญามารกลัวมากๆ

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

แม้พระธรรมกายจะมีอยู่ในตัวทุกคน
แต่ถ้ายังเข้าไม่ถึงมีก็เหมือนไม่มี
เหมือนน้ำใต้ดิน เรารู้ว่ามีน้ำใต้ดิน แต่ถ้า
ไม่เจาะไม่ขุดไปให้ถึง ก็ไม่ได้น้ำมาดื่มมาใช้
พระธรรมกายในตัวก็เช่นเดียวกัน แม้มีอยู่แต่
ถ้าหากยังเข้าไปไม่ถึงก็เอามาใช้ไม่ได้ ดังนั้นการ
เข้าถึงพระธรรมกาย จึงเรียกว่าเป็นบุคคลพิเศษ
ที่มีรหัสผ่านพิเศษไปสู่วงบุญพิเศษได้ หากตั้ง
ความปรารถนาที่จะไป

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วันนี้มืด แต่พรุ่งนี้ไม่แน่
“แม้มืดตื้อมืดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม”
นี่ไม่ใช่คำขวัญหรูๆ
แต่ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ถ้าทำกันจริงๆ จังๆ

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราลงมือปฏิบัติธรรมกันจริงๆ
ที่จะไม่ได้ผลเลยเป็นไม่มี
มีแต่ดีมาก...ดีน้อย
ซึ่งก็จะค่อยๆ ดีเพิ่มขึ้นทุกวัน
ถ้าดีน้อย...เราก็ทำให้ดีมาก
ถ้าดีมาก...เราก็ให้มากเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ใจยิ่งใส ใจก็ยิ่งสูง
ใจยิ่งสูงก็ยิ่งใกล้พระนิพพาน
ยิ่งใกล้ที่สุดแห่งธรรมเข้าไปเรื่อยๆ
เราก็จะต้องทำใจให้ใสๆ

๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖

------------------------------

ที่ว่า “นั่งไม่เห็น”
ไม่ใช่เพราะบุญน้อย
แต่จริงๆ คือ “นั่งน้อย”

๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ชาตินี้เราต้องปฏิบัติธรรม
ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้
ถ้าไม่ถึง...ชีวิตยังไม่ปลอดภัย
แม้นมีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว
เพราะไม่ได้พบสิ่งที่ประเสริฐ สิ่งที่เลิศ
สำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง
เท่ากับเสียไปชาติหนึ่งเลย
เพราะฉะนั้น...อย่าเพิ่งรีบตาย
ถ้ายังไม่ได้เข้าถึงพระธรรมกาย

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

คำว่า “ไม่ว่าง” “ไม่มีเวลา”
อย่านำมาใช้สำหรับปิดโอกาสตัวเอง
ในการแสวงหาความดี บุญกุศล
หรือพระรัตนตรัยในตัว

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ชีวิต ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์
ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต เขาวัดกัน ๒
ระดับ ระดับแรก คือ มีโลกียทรัพย์หรือทรัพย์
ภายนอก ประสบความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการ
งาน ถึงพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ อย่างนี้
ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตระดับหนึ่ง
แต่ถ้าในระดับของผู้รู้ จะต้องมีอีกชั้น คือ ได้
อริยทรัพย์ภายในด้วย คือมีพระธรรมกายปรากฏ
ที่ศูนย์กลางกาย หรืออย่างน้อยก็ได้ดวงธรรม
ใสๆ ต้องครบ ๒ ชั้น อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตที่สมบูรณ์ ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์

๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วันที่ดีที่สุดในชีวิต
คือวันที่เราบรรลุพระธรรมกาย
ไม่ใช่วันที่ได้เป็นอธิบดี เป็นรัฐมนตรี เป็น
ประธานาธิบดี หรือเป็นมหาเศรษฐีของโลก
นั่นยังไม่ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุด แค่เป็นวันดีวัน
หนึ่งในชีวิต ซึ่งมันก็ไม่ได้อะไรสักเท่าไร เพราะ
ตำแหน่งมันตัน แต่การบรรลุพระธรรมกาย
ภายในจะทำให้เราได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง
เราจะได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต
หรือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีบันทึก
ไว้ในพระไตรปิฎก

๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

“เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย”
ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาให้หรูๆ ดูดี
แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของเราว่า
มีภารกิจอันยิ่งใหญ่รอคอยเราอยู่
ภารกิจนั้นจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับเรา
เพราะฉะนั้นเราจะต้อง
เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้

๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ไม่ว่าเราจะไปเกิดในครอบครัว
ที่มีความเชื่อแตกต่างจากชาวพุทธก็ตาม
หรือจะปฏิเสธพระแค่ไหน
เจอพระพุทธรูปก็ทุบบ้าง ทำลายบ้าง
ไม่อยากเห็นบ้าง หรือให้เอาออกจากห้องบ้าง
แม้จะปฏิเสธพระแค่ไหน...
ก็ยังมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัว

๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราจัดสรรเวลา
เราจะพบว่า เรามีเวลาเหลือเฟือ
สำหรับการปฏิบัติธรรม
ตัดการคุยโทรศัพท์ที่ไร้สาระ
เวลาดูหนัง ดูทีวี
เวลาเที่ยวเตร่สนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือเวลาที่อ่านหนังสือไร้สาระ อย่างนี้เป็นต้น
แล้วเอาเวลาที่จะสูญเสียไปอย่างนั้น
เอามานั่งธรรมะ กำไรชีวิตจึงจะเกิดขึ้น

๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ให้ใช้เวลาสำหรับการปฏิบัติธรรม
อย่าไปดูทีวี ดูละคร
เราก็ดูกันมาหลายสิบปีแล้ว
ก็มีแค่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย
ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ
บางทีก็แฮปปี้เอ็นดิ้งบ้าง
บางทีก็ไม่แฮปปี้ มันก็มีอยู่แค่นี้
ดูละครภายในดีกว่า
จะเป็นละครที่เป็นเรื่องจริงของตัวเรา
ไม่ต้องไปดูใครเลย ดูตัวเราให้ได้
แล้วเดี๋ยวอย่างอื่นก็เรื่องเล็ก

๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ความตายไม่มีนิมิตหมาย
ควรรีบขวนขวาย
ในการปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่

๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลวงพ่อรู้สึกเสียดาย...
ชีวิตชาวโลกที่เกิดมาแล้วไม่ได้ปฏิบัติธรรม
ไม่ได้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน
เพราะฉะนั้น...ชีวิตจึงไม่เคยสมปรารถนาเลย
เกิดมาแล้วก็ตายฟรี

------------------------------

อย่าเพิ่งรีบตาย
ถ้ายังไม่ได้ธรรมกาย

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การบรรลุธรรมช้า หรือบรรลุธรรมเร็ว
บรรลุธรรมยาก หรือบรรลุธรรมง่าย
ก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมบารมีมา
ถ้าสั่งสมบารมีมามาก...ก็ง่าย
ถ้าน้อย...ก็ต้องมีความเพียรหน่อย
เพราะฉะนั้นต้องสั่งสมบารมีกันให้เยอะๆ

๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระนิพพานอยู่ในตัว
เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
พระนิพพานจะแจ้งได้ก็ต้องด้วยพระธรรมกาย
จะเอาไฟฉาย เอาสปอร์ตไลท์ ไปส่องแค่ไหน
ก็ไม่แจ้ง เพราะพระนิพพานอยู่ภายในตัว
จะแจ่มแจ้งได้ จะเห็นได้
ด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายเท่านั้น

๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การเข้าถึงพระธรรมกาย
คือการเข้าถึงความพอดี
เราจะรู้จักความพอดี
ต่อเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
พอไปถึงตรงนั้นแล้ว มันรู้สึกพอ
ไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้
อยากจะศึกษาวิชชาธรรมกาย
ไม่ปรารถนาสิ่งที่มนุษย์เขาปรารถนากัน
คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์สิน เงินทอง
คล้ายๆ กับมันพ้นระดับนั้นไปแล้ว
มันเลื่อนขั้นของชีวิตไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การแสวงหาพระธรรมกายในตัว
คือการแสวงหาความพอดี
บางทีมีคำถามว่าแค่ไหนพอดี?
ตอบยากเหมือนกันนะ แค่ไหนพอดี
เพราะเราไม่รู้จัก “พอดี” มันอยู่ตรงไหน
เมื่อไม่รู้จัก “ดี” มันก็เลยไม่รู้จัก “พอ”
เมื่อมันไม่พอ มันก็พร่องไปเรื่อยๆ
เพราะเจอแต่ที่มันไม่ดี
ถ้าจะให้ดีก็ต้องรู้จักว่า “ดี” อยู่ตรงไหน
แล้วก็ต้องวางใจให้ถูกดี แล้วก็ให้ถึงดี ถึงจะได้ดี
เพราะว่าเข้าไปถึงความพอดี

๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การแสวงหาพระธรรมกาย
คือการแสวงหาจุดแห่งความสมดุลของชีวิต
คือ ความพอดี
เข้าถึงดีแล้วมันพอ รู้จักพอแล้ว
มีความพึงพอใจ ชีวิตเต็มอิ่มเต็มเปี่ยม
ไม่ทะลุเหมือนตุ่มก้นรั่วแล้ว
พระธรรมกายในตัวนี่แหละ...คือความพอดี

๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

อย่าประมาท
ให้ตั้งใจนั่งธรรมะให้ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ
วันเวลามันผ่านไปเร็ว
อะไรที่จะประเสริฐกว่าธรรมะ
ไม่มีอีกแล้ว

๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ธรรมะมีอยู่แล้วในตัว
ในเมื่อคนอื่นเขาเข้าถึงได้
เราก็ต้องทำให้ได้

๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

ถ้ารักตัวเองก็ต้องปฏิบัติธรรม
ให้เข้าถึงพระธรรมกาย

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้ารักตัวเองก็ต้องขยัน
อย่าเกียจคร้านในการทำใจหยุดใจนิ่ง
ถ้าปฏิบัติให้ถูกหลักวิชชา
และมีความเพียร
ต้องเข้าถึงกันทุกคน
ที่ไม่เข้าถึงเพราะเกียจคร้าน
หรือขยันทำแต่ไม่ถูกวิธี

๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

การเจริญภาวนาเป็นงานทางใจ
ไม่ได้ไปแบกหามอะไร
แค่ใจเราตรึกนึกถึงดวงใส องค์พระใสๆ
ก็ได้ชื่อว่า เราได้ทำภาวนาแล้ว

๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่
เราสามารถฝึกใจของเราได้
อย่าให้ความเกียจคร้าน ประมาท ชะล่าใจ
หรือการทำมาหากิน ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความ
เหนื่อย ความเพลีย อย่าเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็น
ข้ออ้างขัดขวางการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึง
พระรัตนตรัยในตัว

๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การรู้จักให้อภัยตนเอง
และให้อภัยผู้อื่น
จะทำให้ใจเป็นสุข
และสมาธิตั้งมั่นได้ง่าย

๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ต้องรู้จักให้อภัยตนเอง และให้อภัยผู้อื่น
ใจจะได้เป็นสุข จิตจะเกิดความเมตตา
และใจเราก็จะบริสุทธิ์
เมื่อใจเราบริสุทธิ์ ใจจะเกลี้ยงๆ
เป็นสมาธิได้อย่างง่ายๆ
แต่ถ้าไม่รู้จักให้อภัย
จิตจะไม่มีความสุขเลย
คิดแต่จะมุ่งร้ายต่อผู้อื่น
อย่างนี้ขาดทุน
เพราะเราเกิดมาสร้างบุญ
ต้องให้ได้บุญกันอย่างเต็มที่

๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

อยากมีชีวิตอยู่ ต้องหายใจเอง
อยากจะเห็น ต้องดูเอง
อยากจะได้ยิน ต้องฟังเอง
อยากจะรู้อะไรอร่อยหรือไม่อร่อย ก็ต้องกินเอง
เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่ไม่ต้องทำเองเลย
มันต้องทำเองทั้งนั้น
ทำเองก็คือ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน
ต้องทำด้วยตัวเอง จึงจะบรรลุได้

๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖

------------------------------

วันเวลามันหมดไปเร็ว
เดี๋ยวก็เที่ยงคืนแล้ว
ลูกต้องขวนขวายตั้งใจนั่งธรรมะกันนะ

๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ชีวิตที่ผิดพลาดมีทางแก้ไข

๑. อดีตที่ผิดพลาดลืมให้หมด
๒. บาปทุกชนิดไม่คิดทำเพิ่มขึ้นอีกเด็ดขาด
๓. หมั่นนึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด
๔. บุญทุกบุญทำเพิ่มขึ้นให้เข้มข้นทับทวี
๕. หมั่นปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

๑๒พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้าใจใส ใจสบาย
ทำอะไรก็สำเร็จ
ถ้าใจอยู่ฐานที่๗
ทำอะไรก็สำเร็จอย่างสบาย

๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗

------------------------------


การบ้าน ๑๐ ข้อการปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(ประโยชน์ของสมาธิ)


สิ่งที่เราปรารถนามันอยู่ในตัว
แต่เราเข้าใจผิด
คิดว่าอยู่นอกตัว

๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

------------------------------

ความสุขทางโลกไม่มี
มีแต่ความเพลิน
กับความเพลีย

๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕

------------------------------

สุขที่เกิดจากสมาธิ
เป็นสุขที่ไม่ซ้ำกันเลย
เป็นสุขที่ยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ
กว้างขวางใหญ่โตยิ่งๆ ขึ้นไป
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การทำใจหยุดใจนิ่ง
มีแต่ได้ประโยชน์อย่างเดียว
ทุกข์โทษไม่มีเลย

๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเมื่อไรกายกับใจสามัคคี
รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
สิ่งที่เป็นอจินไตย
ที่ใครๆ คาดไม่ถึงจะเกิดขึ้น

๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้ามนุษย์ทั่วโลกเข้าใจว่า
เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
หรืออย่างน้อยมาสร้างบารมี
โลกจะหมุนไปในทางบวกเลย
เสียดายว่า…ชาวโลกแสวงหาความรู้ที่
ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงสักเท่าไร
แล้วก็ทุ่มเททรัพยากรไปเพื่อสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็น
ประโยชน์ ถ้าหากเขาทุ่มเททรัพยากรมาเพื่อให้
มวลมนุษยชาติค้นคว้าความรู้ที่แท้จริง เพื่อไป
สู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้ ถ้าคิดอย่างนี้
พร้อมกันเมื่อไร โลกก็เกิดสันติสุขในตอนนั้นเลย

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา
เริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗
ด้วยวิธีการหยุดนิ่งเฉยที่ศูนย์กลางกาย
ซึ่งเป็นปากทางที่จะเข้าไปถึงพระในตัว
พอถึงพระในตัวแล้ว
จะเปลี่ยนแปลงจากผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้
คนโง่กลายเป็นคนฉลาด
สิ่งที่ถูกปกปิดก็จะถูกเปิดเผย
เมื่อเข้าถึงพระในตัว

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระในตัวนั้นสำคัญมาก
เพราะท่านอยู่กับเนื้อกับตัวของเรา
ถ้าเราเข้าถึงท่านยังไม่ได้
ชีวิตยังไม่อบอุ่น ยังไม่ปลอดภัย
ถึงแม้จะมีพระนอกตัวให้เคารพกราบไหว้บูชา
มันทราบแต่มันยังไม่ซึ้งถึงใจ
แต่จะให้ซาบซึ้งถึงใจ
ก็ต้องเข้าถึงพระภายในให้ได้

๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราเข้าถึงพระในตัวได้
เราก็จะมีที่พึ่ง
มีความสุขกายสบายใจทันทีที่เข้าถึง
เราจะอบอุ่นใจ จะรู้สึกปลอดภัย
พระในตัวนอกจากจะให้ความสุข
ทันทีที่ได้เข้าถึงแล้ว
ยังเป็นรหัสผ่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์
โดยเฉพาะดุสิตบุรี วงบุญพิเศษ
ที่เราปรารถนาจะไปกัน

๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

คนมีธรรมะไม่มีเหงา
ถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรม
บำเพ็ญสมณธรรมให้ดีแล้วจะไม่เหงาเลย
ไม่มีใครคุยด้วย...เราก็นั่งหลับตา
คุยกับพระในตัวก็ได้ ดวงแก้วก็ได้
ถ้ายังไม่เห็น...ก็คุยกับความมืดภายใน
ฟังเสียงในใจเงียบๆ ที่อยู่ในความมืด
หรือมีเสียง “สัมมาอะระหัง” ภายในใจ
แค่นี้ก็ไม่เหงาแล้ว

๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ไม่มีใครคุยด้วย
ก็คุยกับตัวเอง
ด้วยคำว่า
“สัมมา อะระหัง”

------------------------------

รักธรรมะเอาไว้ให้มากๆ
ธรรมะนี่แหละจะช่วยเราได้ทุกสิ่ง
ช่วยได้ทั้งในปัจจุบัน
ช่วยทั้งตอนกำลังจะละโลก
ช่วยทั้งตอนที่มีชีวิตใหม่หลังจากตายแล้ว
รวมไปถึงภพชาติถัดๆ ไป

๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

การปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(วิธีการปฏิบัติธรรม)

นั่งหลับตาทำสมาธิ
อย่าไปตั้งใจมาก
และอย่าไม่ตั้งใจเลย
ตรงนี้สำคัญนะ

๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

เราต้องช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัปปายะ
เกื้อกูลต่อการเข้าถึงธรรมยกชั้น
คือ บรรยากาศต้องสบายๆ
ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความรัก ความสามัคคี
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อย่างนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงธรรมได้ง่าย
เพราะเวลาเรามานั่งธรรมะ
จะได้ไม่เสียเวลาไปนั่งฟุ้งขุ่นมัวอะไรอยู่ในใจ

๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

ไม่ลุ้น ไม่เร่ง ไม่เพ่ง ไม่จ้อง
ไม่เน้นภาพ ไม่เค้นภาพ เพื่อที่จะให้ชัดดังใจเรา
มีให้ดูแค่ไหนให้พึงพอใจแค่นั้นไปก่อน
ให้ดูอย่างสบายๆ ธรรมดาๆ
เหมือนเราดูต้นหมากรากไม้
ภูเขาเลากา หรือดูทิวทัศน์อย่างนั้น

๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

ดวงแก้ว องค์พระ มีอยู่ในตัวแล้ว
แต่เราไม่เห็น
เพราะใจเราไม่นิ่ง
แต่พอนิ่ง...เป็นเห็น

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

บทเรียนแรก ชะลอใจ
ธรรมดาเราจะไปเบรกรถอย่างกะทันหันคงไม่ได้
ต้องค่อยๆ ชะลอรถ จนกระทั่งรถจอดสนิท
การจะไปบังคับใจให้มันหยุดคิดเลยก็ไม่ได้
ต้องให้ใจสมัครใจที่จะหยุดนิ่ง
ก็คือต้องค่อยๆ ชะลอความคิดนั้น
อย่างนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ
ผ่อนคลาย หยุดนิ่ง จนกระทั่งดวงเกิด

๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

บทเรียนที่สอง ดูไปด้วยใจสบาย
มีอะไรให้ดู ก็ดูไป อะไรก็ได้
...whatever
แล้วเมื่อไรจะได้สิ่งที่อยากดู เมื่อไรก็ได้
...whenever
แล้วอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่ชอบมาก อย่างไรก็ได้
...however

๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

เวลาล้มตัวลงนอน อย่านอนเฉยๆ
ให้มองดูองค์พระของเราเรื่อยไป
หมั่นหยุดนิ่งอยู่ในกลางท่าน
ท่านจะขยายครอบคลุมตัวเราไปเลย
เราก็จะได้หลับอยู่ในกลางองค์พระ
อย่างมีความสุข

๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เมื่อตื่นขึ้นมาต้องตื่นอยู่ในกลางองค์พระ
ให้เห็นพระชัดใสแจ่มทีเดียว
พอลุกขึ้น ล้างหน้า แปรงฟัน
ใจก็ยังอยู่ตรงกลางนั้น ฝึกไว้เรื่อยๆ
อาบน้ำอาบท่า ขับถ่าย ก็อยู่ตรงกลางองค์พระ
กระทั่งถึงเวลารับประทานอาหาร
หรือจะเดินทางมาที่ทำงาน
ก็ยังตรึกยังนึกไปเรื่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติ

๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

จะนึกคำว่า “พระ” ก็ได้ แม้ไม่เห็นพระ
จะนึกคำว่า “ดวง” ก็ได้ แม้ไม่เห็นดวง
หรือจะนึกคำว่า “บุญ” ก็ได้ แม้ไม่เห็นอะไร

๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ในฐานะเราเป็นมนุษย์
ความมืด ความเมื่อย ความฟุ้ง
ความง่วง ความท้อ เบื่อบ้าง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันมีเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
นั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา
แต่ว่าเบื่อเพียงไรก็ตาม อย่าเลิกนั่ง
ฝึกไปเรื่อยๆ ปรับใจไป หมั่นสังเกตว่า
เราวางใจขนาดไหน มันพอดี
ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป
รู้สึกว่าอยู่อย่างนี้พึงพอใจ นั่นใช้ได้แล้ว
รักษาความพึงพอใจนั้นให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

วันนี้เราพึงพอใจได้ ๕ นาที
วันพรุ่งนี้ฝึกใหม่ ฝึกไปเรื่อยๆ
แม้วันพรุ่งนี้จะดีไม่เท่าวันนี้...ก็ช่าง
หรือดียิ่งกว่าวันนี้...ก็ช่าง
คือเฉยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ
จะล้มลุกคลุกคลานอย่างไร เราก็ฝึกไป
นี่เป็นทางมาแห่งบารมีของเรา

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ให้พยายามทำความเพียรไปเรื่อยๆ
รักที่จะทำ ทำทุกวัน ทำทั้งวัน ควบคู่กับภารกิจ
และหมั่นสังเกตว่า เราตั้งใจมากเกินไปไหม
หรือทำความเพียรย่อหย่อน
ไม่ปะติดปะต่อ ไม่ต่อเนื่อง ทำๆ หยุดๆ
ทั้งสังเกตดู แล้วก็รีบแก้ไขปรับปรุง
ประเมินผลการปฏิบัติธรรมทุกวัน
อย่างนี้มันก็จะก้าวหน้า

๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ใครยังทำความเพียรไม่สม่ำเสมอ...ฟิต ฝ่อ ฟู
คือ พอเริ่มต้นเข้าพรรษาก็ฟิต
กลางๆ ก็ฝ่อ พอเชียร์หน่อยก็ฟู
พอใจฟูขึ้นมา ก็ลุยกันทีหนึ่ง
มันต้องฟิต ฟิต ฟิต ต้องเอาจริงเอาจัง
แล้วก็มาดูว่า ทำถูกหลักวิชชาไหม
ตรงนี้สำคัญนะ

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลักวิชชาคือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ”
หมายถึง จะเข้าถึงพระธรรมกายภายในได้นั้น
ใจต้องหยุด ถ้าใจไม่หยุดจะเข้าถึงไม่ได้เลย
ต้องหยุดคิด หยุดพูด หยุดทำอะไรทั้งสิ้นเลย
เหมือนไม่ได้ทำอะไร
แค่นิ่งๆ เฉยๆ สบายๆ เท่านั้น
เดี๋ยวเราก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา
ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ต้อง “หยุด” อย่างเดียวเท่านั้น
ไม่หยุดไม่ถึงพระ...หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จ
หยุดตรงนั้น หยุดในระดับที่ปลอดความคิด
และมีความโปร่งโล่งเบาสบาย
ณ ตรงนั้นใจจะสบายๆ
ไม่มีความคิด ไม่มีจินตนาการ

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หยุดตอนไหน ถึงตอนนั้น
เป็นอกาลิโก
ไม่กำหนดกาลเวลา

๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าอยากหยุด ต้องหยุดอยาก
ถ้าอยากหยุดใจได้
เราต้องหยุดอยาก
หยุดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
หยุดอย่างเดียวจึงจะเข้าถึงได้

๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าใจยังไม่เป็นระเบียบ มันหยุดยาก

๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

เราจะทำมาหากินอะไรก็ทำไปเถอะ
มีเวลาสัก ๑ หรือ ๒ นาที
ก็นึกภาพองค์พระกลางดวงแก้ว*
นึกเล่นๆ เพลินๆ ให้ใจมันคุ้นกับการนึก
จะทำให้ใจเราไปเชื่อมโยงกับอานุภาพ
อันไม่มีประมาณของพระรัตนตรัย
ด้วยอานุภาพนี้จะทำให้เรา
สมหวังดังใจในทุกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม
ในธุรกิจการงานที่เป็นสัมมาอาชีวะ
ในชีวิตครอบครัว
ในการแสวงหาความสุขที่แท้จริงก็จะสมหวัง

๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

*ฝึกมองแบบ top view คือ มองจากเศียรลงไป เหมือนพระท่านนั่ง
ในกลางท้อง หันหน้าไปทางเดียวกับเราตามภาพ

------------------------------

ภาพองค์พระกลางดวงแก้วเป็นภาพที่สำคัญ
ต้องจำนะ และนำติดตัวไว้ให้ดี
เอาใบเล็กๆ ใส่กระเป๋าไว้
ใบใหญ่ติดไว้ข้างฝาตรงไหนสักแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่รวมประชุมของคนในครอบครัว
จะได้ดูองค์พระ ใจจะได้ใส สะอาด บริสุทธิ์
เป็นทางมาแห่งความสุข
และความสำเร็จในชีวิตของทุกคน

๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง
นิ่งอย่างเดียว เดี๋ยวก็ได้
ง่ายนิดเดียว

๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

------------------------------

เราจะนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วก็ได้
แต่ต้องนึกให้เป็น ไม่ใช่ไปเค้นภาพ
หรือไปบีบ ไปเค้น ไปเพ่ง ไปจ้อง
อย่างนั้นปวดหัว ไม่ถูกหลักวิชชา
ให้นึกธรรมดาๆ นึกง่ายๆ
เหมือนเรานึกถึงดอกกุหลาบ ดอกบัว
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว
ถ้าเรานึกเป็นจะไม่ปวดหัวเลย
ให้นึกธรรมดาๆ นึกง่ายๆ อย่างนี้

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วิธีแสวงหาทรัพย์ทางโลกกับทางธรรม
...กลับตาลปัตรกัน...
วิธีแสวงหาทรัพย์ทางโลกต้องเคลื่อนไหว
แต่วิธีการหาอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน
ต้องนิ่ง ต้องไม่เคลื่อนไหว
ไม่คิด ไม่พูด ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น
แค่หยุดนิ่งเฉยๆ จึงจะเข้าถึงอริยทรัพย์ภายใน
ซึ่งเป็นเครื่องปลื้มใจของพระอริยเจ้า

๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลักวิชชาในการเข้าถึงพระธรรมกายในตัว
ที่จริงก็ไม่มีอะไรมาก
ง่ายกว่าเรียนทางโลกเสียอีก
ไม่ต้องท่อง ไม่ต้องอ่าน
ไม่ต้องนึก ไม่ต้องคิด
ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้นเลย
แค่ทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
อย่างนี้...แค่นี้...เท่านั้น
ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้
เดี๋ยวก็ถูกส่วนเอง

๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

๔ ส. สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกต
ให้มีสติ คือ เอาใจมาอยู่กับตัวของเรา
มาหยุดมานิ่งภายในอย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่อง
ทั้งวันทั้งคืน เหมือนเป็นผู้มีราตรีเดียว ทำอย่าง
สม่ำเสมอทั้งวันทั้งคืนเลย แล้วก็สังเกตว่า
เราทำถูกหลักวิชชาไหม ตั้งใจมากเกินไปไหม
อยากได้มากเกินไปไหม ระวังหรือเกร็งเกินไปไหม
หรือเราไปต่อสู้กับความฟุ้งหรือเปล่า ให้สังเกต
เดี๋ยวเราจะพบเหตุแห่งความบกพร่องและ
ช่องทางแห่งความสำเร็จ

๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าจะนั่งให้ได้ดีและเร็ว
ต้องหมั่นสั่งสมอารมณ์ดี
อารมณ์ที่เป็นกุศลธรรมที่เป็นบุญ เป็น
ความดีเอาไว้เยอะๆ ซึ่งจะมีผลในตอนปฏิบัติ
ธรรม จะได้มีอารมณ์เดียว ที่ไม่หงุดหงิด งุ่นง่าน
ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ไม่ขัดเคือง ขุ่นมัว คนโน้น
คนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ไม่มี มันขึ้นอยู่กับตรงนี้แหละ
ต้องสั่งสมนะ

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หมั่นนึกทบทวนถึงบุญเก่าๆ
ที่เราได้กระทำผ่านมา...
นึกแล้วใจจะได้ชุ่มชื่น
อย่าไปนึกถึงสิ่งที่ทำให้ใจเราขุ่นมัวหรือแหนงใจ
ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ที่ทำให้ขุ่นมัว
หรือการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ที่นึกแล้วมันแหนงใจ นึกแล้วไม่สบาย
...ก็อย่าไปนึก
ให้นึกถึงแต่สิ่งที่ทำให้เราสบายใจ
ใจใส ใจสะอาด ใจดี
อย่างนี้เรียกว่า สั่งสมอารมณ์ดี

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราทำเฉยได้
เราจะอารมณ์ดีทั้งวันเลย
ใครด่า ใครว่า ก็เฉย
ใครชม ก็เฉย
อะไรๆ มา ก็เฉย
ถ้าทำอย่างนี้ได้
อารมณ์จะดีทั้งวัน
ไม่เชื่อลองเฉยๆ ดูนะ
๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ต้องมีฉันทะ รักที่จะเข้าถึงธรรม
รักที่จะมีที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงภายใน
รักที่จะมีความสุข ความบริสุทธิ์
รักที่จะศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต
รักที่จะศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ
หากมีใจรัก มีฉันทะ เราจะทำด้วยความสนุก
บุญบันเทิง เบิกบาน ร่าเริงใจ
ไม่ช้าจะทำกันได้ทุกคน

๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

------------------------------

เรามีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงองค์พระ
เห็นองค์พระได้ทุกวัน
วันหนึ่งมีสิทธิ์จะเข้าถึงได้หลายครั้ง
ครั้งไหนที่เรานึกถึงพระ
เรามีสิทธิ์เห็นพระ
เรามีสิทธิ์ทุกครั้ง...ที่เรานึกถึง

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เห็นเอง
เพราะพระรัตนตรัยมีอยู่แล้วในตัว
หลักวิชชาก็มีอยู่แล้ว
เหลือแต่ว่าเราจะขวนขวายแค่ไหน
ขยันหรือขี้เกียจ ถ้าขยันก็ถึงได้เร็วหน่อย
ถ้าขี้เกียจก็ถึงช้า
บางทีช้าข้ามภพข้ามชาติกันทีเดียว

๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้านึกได้...ก็เห็นได้
เห็นไม่ได้...เพราะเราไม่ได้นึก
ถ้าเราได้กินข้าวก็อิ่มได้
ถ้าเราไม่ได้กินก็ไม่อิ่ม ก็ง่ายๆ แค่นั้น
แต่เราก็นึกกันไม่ค่อยถึง
แต่ชัดหรือไม่ชัดนั่นอีกเรื่องหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับว่าใจเราละเอียดแค่ไหน
ถ้าใจเราหยาบภาพก็จะไม่ค่อยชัด
ใจละเอียดมันก็ชัดขึ้น

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

เห็นองค์พระแล้ว
ไม่ว่าจะเห็นแบบไหนก็อย่าทิ้ง
บางคนพอเห็นว่า ไม่ใช่พระธรรมกาย
ไม่ใช่ อย่างนี้ไม่เอา อย่าคิดอย่างนั้นนะ เห็นพระ
ได้ก็บุญเหลือหลายแล้ว แม้ยังเข้าไม่ถึง
พระธรรมกาย เห็นองค์พระอ้วนๆ ท้วมๆ แค่นั้น
ก็ปิดประตูอบายแล้ว เพราะใจผ่องใส แสดง
ว่าจิตต้องเลื่อมใสในพระรัตนตรัยพอสมควร
ภาพอย่างนี้จึงเกิดขึ้นได้

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การที่เห็นองค์พระได้
แสดงว่าใจต้องหยุดในระดับหนึ่งแล้ว
แม้จะยังไม่สมบูรณ์
แต่ว่า ณ จุดตรงนั้น ถ้าทำความเพียรกันต่อไป
ไม่ช้าก็จะเข้าถึง
พระธรรมกายในตัวได้

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หมั่นเช็ดถูพระในตัวบ้าง
เช็ดถูด้วยใจ
หยุดนิ่งๆ ชำเลืองดูเรื่อยๆ
นั่นแหละเนื้อนาบุญ...ที่สำคัญที่สุด

๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

นึกบ่อยๆ...ก็นึกได้
นึกได้บ่อยๆ...ก็เห็นได้
เห็นได้บ่อยๆ...ก็เข้าถึงได้
เข้าถึงได้บ่อยๆ...ก็ศึกษาได้
มันมีขั้นตอนอย่างนี้
เขาทำกันได้เยอะแยะ
เราเป็นคนเช่นเดียวกับเขา
ถ้ามีความเพียรไม่น้อยหน้าเขา
เราก็ต้องทำได้

๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี
ถ้าเราอยากเห็นธรรมะเร็ว
ก็ต้องเอาใจไว้ที่กลางกายเรื่อยๆ บ่อยๆ
ถ้าอยากจะเห็นภายใน ๗ วัน
ก็ต้องว่ากันทั้ง ๗ วัน
อยากเห็นภายใน ๗ เดือน
ก็ค่อยๆ หย่อนลงไปเรื่อยๆ
อยากเห็นภายใน ๗ ปี ก็ยืดไปอีก
อยากเห็นตอนก่อนตาย...นานๆ ก็ทำสักทีหนึ่ง

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้าเรานึกถึงเรื่องละเอียด
ใจก็จะละเอียดตามไปด้วย
ถ้าเราพูดเรื่องละเอียด
ใจก็จะละเอียดตามไปด้วย

๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เวลานั่งธรรมะ...อย่าตั้งใจมากจนเกินไป
ไม่ต้องไปเสียดายประสบการณ์ที่เราเคยนั่งแล้วดี
เพราะจะทำให้เราไปเร่งอย่างผิดวิธี
เราต้องฝึกปล่อยวาง เพื่อให้ใจได้รับความสุขบ้าง
ไม่อย่างนั้น...ใจของเราก็จะไม่มีความสุข

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ถ้าช่วงไหนเรานั่งดี ก็อย่าดีใจจนเกินไป
ให้รักษาใจให้พอดีอย่างถูกหลักวิชชา
แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจเรา
ไม่เห็นประสบการณ์ภายใน ก็อย่าหงุดหงิด
ให้ทำเฉยๆ อย่างสบายๆ
ให้ใช้ ๒ คำคือ “ช่างมัน”
Let it be ปล่อยให้มันเป็นไป

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

“ทางสายกลาง”
จะต้องไม่โต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง
ไม่ซ้าย ไม่ขวา มันต้องพอดี...พอดี
เราจะเอาชนะมันตรงนี้แหละ
ถ้าไม่โต่ง...เราจะเข้าไปสู่ภายในได้
แต่มันจะคอยดึงใจเราให้โต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง
เราจึงจำเป็นต้องปล่อยวาง
เพื่อเปิดช่องให้ใจได้รับความสุขบ้าง
เราถึงจะเข้ากลางได้

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่า
พระอยู่ในเรา เราอยู่ในพระ
เราเป็นพระ พระเป็นเรา

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ทุกครั้งที่เรานึกถึงพระ
ใจเราจะสูงขึ้น ประณีตขึ้น
ถูกกลั่นให้บริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ทำใจให้เหมือนเด็กๆ
แล้วจะได้ง่ายๆ อย่างเด็กๆ
ทำไมเด็กได้ง่าย
เพราะเด็กใจอยู่กับเนื้อกับตัว
ผู้ใหญ่ทำไมได้ยาก
เพราะผู้ใหญ่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

ถ้ารักที่จะเข้าถึงธรรมกันจริงๆ
ใจต้องปล่อยวาง
ถ้าปล่อยวางได้วินาทีนี้
...ก็จะได้วินาทีนี้

๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------


การปฏิบัติธรรม
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ 1
(ให้กำลังใจ)

พวกเราเป็นผู้มีบุญมาก
บุญเก่าเรามีเพียงพอ
เหลือแต่ปัจจุบันนี้
จะต้องประกอบความเพียรให้เต็มที่เต็มกำลัง
และต้องทำให้ถูกหลักวิชชาด้วย
จึงจะได้ผล ได้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน
...จำตรงนี้ให้ดี...

๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------

แม้ความรู้สึกของเราว่า
ไม่เห็นจะก้าวหน้าอะไร
ไม่เห็นมีอะไรใหม่
แม้เราจะรู้สึกอย่างนี้ก็ตาม...
แต่ความละเอียดจะถูกสั่งสมเอาไว้ในใจ
บุญเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราลงมือปฏิบัติ
โดยที่เราไม่รู้ตัว
กายวาจาใจของเราจะถูกกลั่น
ให้สะอาดแล้วสะอาดเล่า
บริสุทธิ์แล้วบริสุทธิ์เล่าเพิ่มขึ้นทุกวัน

๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

เรามีเวลาไม่มากที่จะอยู่ในโลกนี้
ให้ใช้วันเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้
สร้างบารมีกันให้เต็มที่
ให้ชีวิตมีคุณค่าด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม
ฝึกฝนอบรมใจของเราให้หยุดนิ่ง
ให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัวให้ได้กันทุกคน

๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

อย่าท้อถอยนะ
เราได้ลงทุนปฏิบัติธรรมมาในระดับหนึ่งแล้ว
ก็ต้องเดินทางกันต่อไป
อย่าให้ผังแห่งความไม่สำเร็จ
หรือทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ไม่ตลอดรอดฝั่ง
อย่าให้ผังนี้ติดไปข้ามภพข้ามชาติ
ต้องเอาผังที่ว่า…
เราพยายามทำความเพียรอย่างเต็มที่
ถูกหลักวิชชา
ส่วนผลที่ได้มันได้แค่ไหน...ก็แค่นั้น

๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------

อะไรจะมาสู้ความเพียร
ขยันทำกันไปเรื่อยๆ
แต่ต้องขยันให้ถูกหลักวิชชา
สิ่งที่ยากก็ง่าย
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ มันก็จะเป็นไปได้
มืดก็จะสว่าง ทุกข์ก็จะมาเป็นสุข
จากผู้ไม่รู้ก็จะมาเป็นผู้รู้
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับ
ความเพียรพยายามของเรา

๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ* ท่านพูดเสมอว่า
“ของจริงคู่กับคนจริง”
จริงแค่ไหน ก็ต้องแค่ชีวิตซิ
เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป
เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน
ไม่ได้ตายเถอะ ต้องจริงนะลูกนะ

๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

*พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร

------------------------------

หยุดกับนิ่ง...
ขึ้นอยู่กับความขยันหรือขี้เกียจ
ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเรา
ถ้าเราเต็มใจ สมัครใจอยากจะเข้าถึงก็ถึง
ถ้าไม่สมัครใจที่จะเข้าถึงก็ไม่ถึง
แล้วแต่เราจะปรารถนาอย่างไรก็ไขว่คว้าเอา
ชีวิตเราเราก็ต้องดีไซน์ของเราเอง

๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

มีอิริยาบถหนึ่งที่พญามารกลัวนัก
คือ อิริยาบถนั่งสมาธิ
เพราะกลัวคนใจหยุด
คนใจหยุดนี่พญามารกลัวมากๆ

๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

แม้พระธรรมกายจะมีอยู่ในตัวทุกคน
แต่ถ้ายังเข้าไม่ถึงมีก็เหมือนไม่มี
เหมือนน้ำใต้ดิน เรารู้ว่ามีน้ำใต้ดิน แต่ถ้า
ไม่เจาะไม่ขุดไปให้ถึง ก็ไม่ได้น้ำมาดื่มมาใช้
พระธรรมกายในตัวก็เช่นเดียวกัน แม้มีอยู่แต่
ถ้าหากยังเข้าไปไม่ถึงก็เอามาใช้ไม่ได้ ดังนั้นการ
เข้าถึงพระธรรมกาย จึงเรียกว่าเป็นบุคคลพิเศษ
ที่มีรหัสผ่านพิเศษไปสู่วงบุญพิเศษได้ หากตั้ง
ความปรารถนาที่จะไป

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วันนี้มืด แต่พรุ่งนี้ไม่แน่
“แม้มืดตื้อมืดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม”
นี่ไม่ใช่คำขวัญหรูๆ
แต่ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ถ้าทำกันจริงๆ จังๆ

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราลงมือปฏิบัติธรรมกันจริงๆ
ที่จะไม่ได้ผลเลยเป็นไม่มี
มีแต่ดีมาก...ดีน้อย
ซึ่งก็จะค่อยๆ ดีเพิ่มขึ้นทุกวัน
ถ้าดีน้อย...เราก็ทำให้ดีมาก
ถ้าดีมาก...เราก็ให้มากเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ใจยิ่งใส ใจก็ยิ่งสูง
ใจยิ่งสูงก็ยิ่งใกล้พระนิพพาน
ยิ่งใกล้ที่สุดแห่งธรรมเข้าไปเรื่อยๆ
เราก็จะต้องทำใจให้ใสๆ

๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖

------------------------------

ที่ว่า “นั่งไม่เห็น”
ไม่ใช่เพราะบุญน้อย
แต่จริงๆ คือ “นั่งน้อย”

๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ชาตินี้เราต้องปฏิบัติธรรม
ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้
ถ้าไม่ถึง...ชีวิตยังไม่ปลอดภัย
แม้นมีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว
เพราะไม่ได้พบสิ่งที่ประเสริฐ สิ่งที่เลิศ
สำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง
เท่ากับเสียไปชาติหนึ่งเลย
เพราะฉะนั้น...อย่าเพิ่งรีบตาย
ถ้ายังไม่ได้เข้าถึงพระธรรมกาย

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

คำว่า “ไม่ว่าง” “ไม่มีเวลา”
อย่านำมาใช้สำหรับปิดโอกาสตัวเอง
ในการแสวงหาความดี บุญกุศล
หรือพระรัตนตรัยในตัว

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ชีวิต ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์
ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต เขาวัดกัน ๒
ระดับ ระดับแรก คือ มีโลกียทรัพย์หรือทรัพย์
ภายนอก ประสบความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการ
งาน ถึงพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ อย่างนี้
ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตระดับหนึ่ง
แต่ถ้าในระดับของผู้รู้ จะต้องมีอีกชั้น คือ ได้
อริยทรัพย์ภายในด้วย คือมีพระธรรมกายปรากฏ
ที่ศูนย์กลางกาย หรืออย่างน้อยก็ได้ดวงธรรม
ใสๆ ต้องครบ ๒ ชั้น อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตที่สมบูรณ์ ๒๐๐ เปอร์เซ็นต์

๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

วันที่ดีที่สุดในชีวิต
คือวันที่เราบรรลุพระธรรมกาย
ไม่ใช่วันที่ได้เป็นอธิบดี เป็นรัฐมนตรี เป็น
ประธานาธิบดี หรือเป็นมหาเศรษฐีของโลก
นั่นยังไม่ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุด แค่เป็นวันดีวัน
หนึ่งในชีวิต ซึ่งมันก็ไม่ได้อะไรสักเท่าไร เพราะ
ตำแหน่งมันตัน แต่การบรรลุพระธรรมกาย
ภายในจะทำให้เราได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง
เราจะได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต
หรือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีบันทึก
ไว้ในพระไตรปิฎก

๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

“เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย”
ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาให้หรูๆ ดูดี
แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของเราว่า
มีภารกิจอันยิ่งใหญ่รอคอยเราอยู่
ภารกิจนั้นจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับเรา
เพราะฉะนั้นเราจะต้อง
เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้

๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ไม่ว่าเราจะไปเกิดในครอบครัว
ที่มีความเชื่อแตกต่างจากชาวพุทธก็ตาม
หรือจะปฏิเสธพระแค่ไหน
เจอพระพุทธรูปก็ทุบบ้าง ทำลายบ้าง
ไม่อยากเห็นบ้าง หรือให้เอาออกจากห้องบ้าง
แม้จะปฏิเสธพระแค่ไหน...
ก็ยังมีพระรัตนตรัยอยู่ในตัว

๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ถ้าเราจัดสรรเวลา
เราจะพบว่า เรามีเวลาเหลือเฟือ
สำหรับการปฏิบัติธรรม
ตัดการคุยโทรศัพท์ที่ไร้สาระ
เวลาดูหนัง ดูทีวี
เวลาเที่ยวเตร่สนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือเวลาที่อ่านหนังสือไร้สาระ อย่างนี้เป็นต้น
แล้วเอาเวลาที่จะสูญเสียไปอย่างนั้น
เอามานั่งธรรมะ กำไรชีวิตจึงจะเกิดขึ้น

๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ให้ใช้เวลาสำหรับการปฏิบัติธรรม
อย่าไปดูทีวี ดูละคร
เราก็ดูกันมาหลายสิบปีแล้ว
ก็มีแค่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย
ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ
บางทีก็แฮปปี้เอ็นดิ้งบ้าง
บางทีก็ไม่แฮปปี้ มันก็มีอยู่แค่นี้
ดูละครภายในดีกว่า
จะเป็นละครที่เป็นเรื่องจริงของตัวเรา
ไม่ต้องไปดูใครเลย ดูตัวเราให้ได้
แล้วเดี๋ยวอย่างอื่นก็เรื่องเล็ก

๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

ความตายไม่มีนิมิตหมาย
ควรรีบขวนขวาย
ในการปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่

๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

หลวงพ่อรู้สึกเสียดาย...
ชีวิตชาวโลกที่เกิดมาแล้วไม่ได้ปฏิบัติธรรม
ไม่ได้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน
เพราะฉะนั้น...ชีวิตจึงไม่เคยสมปรารถนาเลย
เกิดมาแล้วก็ตายฟรี

------------------------------

อย่าเพิ่งรีบตาย
ถ้ายังไม่ได้ธรรมกาย

๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การบรรลุธรรมช้า หรือบรรลุธรรมเร็ว
บรรลุธรรมยาก หรือบรรลุธรรมง่าย
ก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมบารมีมา
ถ้าสั่งสมบารมีมามาก...ก็ง่าย
ถ้าน้อย...ก็ต้องมีความเพียรหน่อย
เพราะฉะนั้นต้องสั่งสมบารมีกันให้เยอะๆ

๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

พระนิพพานอยู่ในตัว
เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
พระนิพพานจะแจ้งได้ก็ต้องด้วยพระธรรมกาย
จะเอาไฟฉาย เอาสปอร์ตไลท์ ไปส่องแค่ไหน
ก็ไม่แจ้ง เพราะพระนิพพานอยู่ภายในตัว
จะแจ่มแจ้งได้ จะเห็นได้
ด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายเท่านั้น

๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การเข้าถึงพระธรรมกาย
คือการเข้าถึงความพอดี
เราจะรู้จักความพอดี
ต่อเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
พอไปถึงตรงนั้นแล้ว มันรู้สึกพอ
ไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้
อยากจะศึกษาวิชชาธรรมกาย
ไม่ปรารถนาสิ่งที่มนุษย์เขาปรารถนากัน
คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์สิน เงินทอง
คล้ายๆ กับมันพ้นระดับนั้นไปแล้ว
มันเลื่อนขั้นของชีวิตไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------

การแสวงหาพระธรรมกายในตัว
คือการแสวงหาความพอดี
บางทีมีคำถามว่าแค่ไหนพอดี?
ตอบยากเหมือนกันนะ แค่ไหนพอดี
เพราะเราไม่รู้จัก “พอดี” มันอยู่ตรงไหน
เมื่อไม่รู้จัก “ดี” มันก็เลยไม่รู้จัก “พอ”
เมื่อมันไม่พอ มันก็พร่องไปเรื่อยๆ
เพราะเจอแต่ที่มันไม่ดี
ถ้าจะให้ดีก็ต้องรู้จักว่า “ดี” อยู่ตรงไหน
แล้วก็ต้องวางใจให้ถูกดี แล้วก็ให้ถึงดี ถึงจะได้ดี
เพราะว่าเข้าไปถึงความพอดี

๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------


การแสวงหาพระธรรมกาย
คือการแสวงหาจุดแห่งความสมดุลของชีวิต
คือ ความพอดี
เข้าถึงดีแล้วมันพอ รู้จักพอแล้ว
มีความพึงพอใจ ชีวิตเต็มอิ่มเต็มเปี่ยม
ไม่ทะลุเหมือนตุ่มก้นรั่วแล้ว
พระธรรมกายในตัวนี่แหละ...คือความพอดี

๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------


อย่าประมาท
ให้ตั้งใจนั่งธรรมะให้ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ
วันเวลามันผ่านไปเร็ว
อะไรที่จะประเสริฐกว่าธรรมะ
ไม่มีอีกแล้ว

๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------


ธรรมะมีอยู่แล้วในตัว
ในเมื่อคนอื่นเขาเข้าถึงได้
เราก็ต้องทำให้ได้

๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

------------------------------


ถ้ารักตัวเองก็ต้องปฏิบัติธรรม
ให้เข้าถึงพระธรรมกาย

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

----------------------------

ถ้ารักตัวเองก็ต้องขยัน
อย่าเกียจคร้านในการทำใจหยุดใจนิ่ง
ถ้าปฏิบัติให้ถูกหลักวิชชา
และมีความเพียร
ต้องเข้าถึงกันทุกคน
ที่ไม่เข้าถึงเพราะเกียจคร้าน
หรือขยันทำแต่ไม่ถูกวิธี

๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕

------------------------------


การเจริญภาวนาเป็นงานทางใจ
ไม่ได้ไปแบกหามอะไร
แค่ใจเราตรึกนึกถึงดวงใส องค์พระใสๆ
ก็ได้ชื่อว่า เราได้ทำภาวนาแล้ว

๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------


ทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่
เราสามารถฝึกใจของเราได้
อย่าให้ความเกียจคร้าน ประมาท ชะล่าใจ
หรือการทำมาหากิน ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความ
เหนื่อย ความเพลีย อย่าเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็น
ข้ออ้างขัดขวางการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึง
พระรัตนตรัยในตัว

๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

------------------------------


การรู้จักให้อภัยตนเอง
และให้อภัยผู้อื่น
จะทำให้ใจเป็นสุข
และสมาธิตั้งมั่นได้ง่าย

๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ต้องรู้จักให้อภัยตนเอง และให้อภัยผู้อื่น
ใจจะได้เป็นสุข จิตจะเกิดความเมตตา
และใจเราก็จะบริสุทธิ์
เมื่อใจเราบริสุทธิ์ ใจจะเกลี้ยงๆ
เป็นสมาธิได้อย่างง่ายๆ
แต่ถ้าไม่รู้จักให้อภัย
จิตจะไม่มีความสุขเลย
คิดแต่จะมุ่งร้ายต่อผู้อื่น
อย่างนี้ขาดทุน
เพราะเราเกิดมาสร้างบุญ
ต้องให้ได้บุญกันอย่างเต็มที่

๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

อยากมีชีวิตอยู่ ต้องหายใจเอง
อยากจะเห็น ต้องดูเอง
อยากจะได้ยิน ต้องฟังเอง
อยากจะรู้อะไรอร่อยหรือไม่อร่อย ก็ต้องกินเอง
เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่ไม่ต้องทำเองเลย
มันต้องทำเองทั้งนั้น
ทำเองก็คือ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน
ต้องทำด้วยตัวเอง จึงจะบรรลุได้

๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖

------------------------------


วันเวลามันหมดไปเร็ว
เดี๋ยวก็เที่ยงคืนแล้ว
ลูกต้องขวนขวายตั้งใจนั่งธรรมะกันนะ

๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

------------------------------

ชีวิตที่ผิดพลาดมีทางแก้ไข
๑. อดีตที่ผิดพลาดลืมให้หมด
๒. บาปทุกชนิดไม่คิดทำเพิ่มขึ้นอีกเด็ดขาด
๓. หมั่นนึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด
๔. บุญทุกบุญทำเพิ่มขึ้นให้เข้มข้นทับทวี
๕. หมั่นปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

๑๒พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

--------------------------------

ถ้าใจใส ใจสบาย
ทำอะไรก็สำเร็จ
ถ้าใจอยู่ฐานที่๗
ทำอะไรก็สำเร็จอย่างสบาย

๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗

-------------------------------

การบ้าน ๑๐ ข้อ

๑. เมื่อกลับไปถึงบ้าน เอาบุญไปฝากคนที่บ้าน
๒. จดบันทึกผลของการปฏิบัติธรรม
๓. ก่อนนอนให้นึกถึงบุญที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด
๔. เวลานอนหลับให้หลับในอู่ทะเลบุญ
๕. เวลาตื่นนอนให้ตื่นในอู่ทะเลบุญ
๖. เมื่อตื่นแล้ว รวมใจเป็นหนึ่งกับองค์พระ ๑ นาที
ใน ๑ นาทีนั้น ให้เรานึกว่า เราโชคดี ที่รอดมาอีก ๑ วัน
ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้น
ตายแน่ ตายแน่
๗. ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่า ตัวเราอยู่ในองค์พระ
องค์พระอยู่ในตัวเรา ตัวเราเป็นองค์พระ องค์พระเป็น
ตัวเรา
๘. ทุก ๑ ชั่วโมง ขอ ๑ นาที เพื่อหยุดใจนึกถึงดวง
องค์พระ หรือทำใจนิ่งๆ ว่างๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
๙. ทุกกิจกรรม ตั้งแต่ตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการล้าง-
หน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ล้างจาน กวาดบ้าน
ออกกำลังกาย ขับรถ ทำงาน ให้เรานึกถึงดวง หรือ
องค์พระไปด้วย
๑๐. สร้างบรรยากาศให้ดี สดชื่นด้วยรอยยิ้ม และ
ปิยวาจา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Facebook