ธรรมกายไม่ใช่ลัทธิใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่



การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่
เป็นของเก่าแต่นำมาเป่าฝุ่นใหม่
เพราะพระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก

วิธีปฏิบัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ ๔๐ วิธี  ทุกวิธีเป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายทั้งนั้น  แต่ที่ไม่รู้จักพระธรรมกาย  เพราะวางใจไว้ผิดที่  ถ้าหากเราวางใจไว้ถูกที่แล้ว  จะต้องเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน

การปฏิบัติธรรม ๔๐ วิธี  ถ้าแยกเป็นประเภทสามารถแยกได้ดังนี้ คือ

๑ ส่งจิตออกนอกตัว
๒ ส่งจิตเข้าไว้ในตัว
๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว

วิธีปฏิบัติประเภท ๑ กับ ๒ จะไม่พบพระธรรมกาย  แต่จะพบพระธรรมกายได้ด้วยวิธีประเภทที่ ๓  คือ เอาจิตเข้ากลางตัว  ซึ่งเป็นเส้นทางสายกลางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สายกลางของพระอริยเจ้า  

ประเภทที่ ๑  ส่งจิตออกนอกตัว เมื่อจิตสงบแล้ว จะพบแต่แสงสว่าง พบดวงแก้วนอกตัว บางครั้งก็มีนิมิตเลื่อนลอยต่าง ๆ เกิดขึ้นมามาก เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์สมัยโบราณ ท่านจึงไม่ให้ยึดติดในนิมิตเลื่อนลอยนั้น  แต่จะไม่พบพระธรรมกาย  จึงไม่รู้จัก  ทำให้เข้าใจว่า ธรรมกาย คือ ลัทธิใหม่ วิธีการใหม่ เป็นวิธีที่ ๔๑ บ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

ประเภทที่ ๒ ส่งจิตเข้ามาในตัว  ที่สุดของสมาธิวิธีนี้ จะพบแค่ดวงสว่าง มีบางครั้งอาจพบกายของตัวเอง พบองค์พระบ้าง  แต่ก็ไม่ทราบว่าคืออะไร แล้วจะไปอย่างไรต่อ

ประเภทที่ ๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว  วิธีนี้เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้วจะเข้าถึงพระธรรมกาย 

พระธรรมกายนั้นอยู่ในกลางตัวของมนุษย์ทุกคน  ที่ว่าเป็นของเก่าดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา  คือ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี  พระสัทธรรมนี้ คือ พระธรรมกายก็อันตรธานหายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

และได้หวนกลับมาอีกครั้ง เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านสละชีวิต ศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่ส่งจิตออกนอกตัว  นำจิตเข้ามาสู่ภายในตัว  แล้วก็นำจิตเข้ากลางตัว ก็พบว่า นอกตัวกับในตัวนั้นไม่พบพระธรรมกาย  จะพบพระธรรมกายเมื่อวางใจไว้กลางตัวเท่านั้น

เมื่อนำจิตดำดิ่งเข้าไปสู่ภายในจึงพบพระธรรมกาย  พอพบพระธรรมกายแล้วอาศัยมหากรุณา  ได้นำสิ่งนี้มาเผยแพร่ต่อชาวโลกทั้งหลาย  เพื่อให้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกแก่ชาวโลกว่า พระรัตนตรัยอยู่ในตัวของเรา

·       พระรัตนตรัย ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง อยู่ภายในตัวเรา

พระธรรมกายเป็นแก้ว เรียกว่า พุทธรัตนะ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระธรรมกายนั้น หรือความรู้ทั้งมวลของพระธรรมกายหลั่งไหลออกมาจากในกลางของพระธรรมกาย เรียกว่า ธรรมรัตนะ

พระสงฆ์ หรือ พระธรรมกายละเอียด หรือดวงจิตที่ละเอียดที่รักษาธรรมรัตนะอันนั้นเอาไว้ เรียกว่า สังฆรัตนะ ซ้อนอยู่ภายใน

พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  แม้จะแยกกันตามชื่อ  แต่ความจริงนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน  พุทธรัตนะอย่างหนึ่ง  ธรรมรัตนะอย่างหนึ่ง  สังฆรัตนะอย่างหนึ่ง แต่รวมแล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ สรณะที่พึ่งที่ระลึก เหมือนเพชร มีทั้งเนื้อดี สีดี แววดี รวมเรียกว่า เพชร เนื้อดีก็ได้แก่ พุทธรัตนะ สีดีก็ได้แก่ธรรมรัตนะ แววดีก็ได้แก่สังฆรัตนะ ทั้งสามนี้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ในกลางตัว

เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ  ท่านค้นคว้าต่อไป  ก็พบว่าความสว่างของจิตที่สว่างที่สุดนั้นต้องอยู่กลางตัว  อยู่ข้างนอกตัวนั้นสว่างพอประมาณ  อยู่ในตัวนั้นสว่างยิ่งขึ้น  อยู่กลางตัวนั้นสว่างที่สุด  

ความสว่างกับความบริสุทธิ์สัมพันธ์กัน ยิ่งสว่างเท่าไรความบริสุทธิ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น

ความสว่าง ความบริสุทธิ์ กับความมั่นคงของจิตก็สัมพันธ์กัน อยู่นอกตัวเหมือนยืนหมิ่น ๆ หมิ่นเตียง หมิ่นโต๊ะ อยู่กลางตัวก็เขยิบเข้ามาหน่อย อยู่กลางตัวเหมือนยืนอยู่จุดกึ่งกลางของโต๊ะ มีความมั่นคง

เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดทำความเข้าใจกันให้ดีว่า พระธรรมกาย ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่  ไม่ใช่วิธีที่ ๔๑  แต่ว่าวิธีปฏิบัติทั้ง ๔๐ วิธีนั้น  เป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในทั้งสิ้น

แต่เนื่องจากว่า เราใช้คำนั้นไม่ครบถ้วน  มักจะใช้คำว่า เป็นวิธีธรรมกาย เมื่อเราใช้คำว่า วิธีธรรมกาย  ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เป็นวิธีที่ ๔๑ แต่ถ้าคำเต็มแล้ว เขาใช้ว่า วิธีเข้าถึงพระธรรมกาย

เพราะฉะนั้น ทุกคนกรุณาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดี  แล้วเราจะพบว่า ของจริง ๆ นั้นมีอยู่ในตัวของเรานี่เอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ในกลางตัว ที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจของเราที่ละเอียดเท่ากันกับพระธรรมกาย  เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับของพระธรรมกายนั้นตรงกัน  เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับวิทยุอย่างนั้น

·       สติปัฏฐาน ๔ กับวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายก็คืออันเดียวกัน

แล้วพระธรรมกายที่อยู่ในกลางตัวนี้  ก็เป็นวิธีปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน ๔ คือ ตามเห็นกายในกายเข้าไปเรื่อย ๆ กายภายในซ้อนอยู่กายภายนอก แล้วก็กายภายในซ้อนอยู่กายภายใน เป้าหมายก็คือ ต้องการให้เข้าไปถึงกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา

กายภายนอกที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีสาระแก่นสาร ท่านให้ปลด ปล่อย วาง ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะไปยึด เนื่องจากว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดไว้ก็เสียเวลาเปล่า

กายภายนอกท่านให้วางเอาไว้ ให้เข้าไปยึดกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ให้ความสุขอย่างเต็มเปี่ยมของชีวิต ให้ความเบิกบาน เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

จะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ ความรู้นั้นเกิดจากการเห็นแจ้ง เห็นได้ด้วยตาธรรมกาย แล้วก็หยั่งรู้ได้ด้วยญาณของพระธรรมกาย จึงกลายเป็นผู้รู้เกิดขึ้น เมื่อรู้แล้วก็ตื่นจากกิเลสอาสวะที่ครอบงำอยู่ เช่น ความโลภทำให้จิตหิว ความโกรธทำให้จิตร้อน ความหลงทำให้จิตมืด หิว ร้อน มืดเหล่านี้ดับไป

เมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย จะมีความรู้สึกไม่หิว คือ เต็มเปี่ยม มีความอิ่มอกอิ่มใจ เบิกบาน จิตนั้นเย็นสบาย แล้วก็สว่าง ซึ่งตรงข้ามกับความหิว ความร้อน แล้วก็ความมืด จะรวมประชุมอยู่ในพระธรรมกาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว

·       ธมฺมกาโย อหํ อิติปิฯ

ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เกิดขึ้นเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ภาษาบาลีท่านเรียกว่า พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เพราะฉะนั้นเห็นพระธรรมกายนี้ จึงได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ว่า

ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เรา คือ ธรรมกาย ธรรมกาย คือ เรา

ท่านใช้คำนี้เพราะว่า ใจของท่านปล่อยวาง กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา กลืนกันเป็นเนื้อเดียว ใจท่านกับใจธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด

ธรรมกายคือท่าน ท่านคือธรรมกาย

ดังนั้นคำนี้จึงเกิดขึ้น ธมมกาโย อหํ อิติปํ เรากับธรรมกายเป็นอันเดียวกัน เห็นพระธรรมกายก็ได้ชื่อว่าเห็นเรา เห็นเราก็ได้ชื่อว่าเห็นพระธรรมกาย นั่นหมายถึง พระธรรมกายของพระองค์

พระธรรมกายในตัวเราก็เหมือนกัน เมื่อเราเข้าถึงแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงพระพุทธเจ้าภายใน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายขอได้โปรดทำความเข้าใจดังกล่าวแล้ว

·       ขันธ์ ๕ กับ ธรรมขันธ์

กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น บางครั้งท่านก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ มีกายมนุษย์หยาบที่เราอาศัยนั่งเข้าที่ปฏิบัติธรรม กายมนุษย์ละเอียดที่ซ้อนอยู่ภายใน นั่นก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายทิพย์ที่ซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายทิพย์ ก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ กายอรูปพรหมที่ซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม ก็เรียกว่าขันธ์ ๕

ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เพราะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลาย ไม่มีสาระแก่นสาร

ส่วนธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา นั้นท่านมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมขันธ์ คือขันธ์ทั้งก้อนเป็นธรรมล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา จึงได้ชื่อว่า ธรรมขันธ์

เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดแยกออกให้ได้ ระหว่างขันธ์ ๕ กับธรรมขันธ์

ดังนั้น สรุปได้ว่า  ธรรมกายนี้เป็นของมีอยู่จริงในกลางตัวของพวกเรา เป็นของมีอยู่เก่าก่อน ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่

·       วิเคราะห์วิธีปฏิบัติ ๔๐ วิธี

ส่วนวิธีการปฏิบัติ ๔๐ วิธีนั้น ฟังให้ดีนะ ไม่ว่าจะเป็นกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา อนุสสติ ๑๐ ธาตุ ๔ หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย

แต่ทีนี้ ทำไมบางท่านปฏิบัติวิธีอย่างนั้นแล้วจึงไม่พบพระธรรมกาย ก็ขอพูดซ้ำอีกทีว่า เพราะวางใจผิดที่

การปฏิบัตินั้น ถ้าเราเริ่มจากกสิณ เช่น สมมติว่า เราเริ่มจากกสิณน้ำ กำหนดน้ำเป็นอารมณ์ พอใจหยุดถูกส่วน ก็ได้ภาพน้ำนั้นติดอยู่ในใจเรา เป็นดวงกลมสว่าง ถ้าน้อมดวงสว่างนั้นมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เนื่องจากว่าธรรมกายนั้นอยู่ภายในนั้น

ดวงที่มาตั้งไว้ที่ฐานที่ ๗ นั้น จึงได้ชื่อปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกายภายใน แต่ถ้าเอาดวงนั้นมาตั้งไว้ข้างหน้า คือหลับตาแล้วเห็นลอยอยู่ข้างหน้านั้น ธรรมกายไม่ได้เกิดขึ้นข้างหน้า เมื่อมาตั้งข้างหน้าจึงเป็นแค่กสิณ เป็นดวงสว่างเท่านั้นเอง

ทีนี้ ถ้าหากเราเริ่มต้นมาจากอสุภะ จากซากศพ เพ่งพิจารณาไป จะด้วยวิธีการอะไรก็แล้วแต่ เพ่งเฉย ๆ หรือแยกแยะเป็นส่วน ๆ หรือจะใช้จินตมยปัญญา ความรู้จำที่ได้เรียนรู้มาจากตำรับตำราพิจารณา จะให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเป็นปฏิกูลอะไรก็แล้วแต่ เมื่อใจสงบ หยุดนิ่งเป็นสมาธิ ภาพอสุภะนั้นจะใสเป็นแก้ว แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นดวงสว่าง ดวงสว่างที่ลอยอยู่ข้างหน้า ถ้าอยู่ข้างหน้าก็เหมือนกับกสิณน้ำ เมื่อสักครู่นี้ที่หลวงพ่อยกเป็นตัวอย่าง ถ้าน้อมเอาเข้ามาไว้ที่ฐานที่ ๗ ก็เป็นปฐมมรรค คือ หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกาย

อีกวิธี หากเราเริ่มมาจากลมหายใจเข้าออก ที่เราเรียกอานาปานสติ แปลว่า สติจับลมเข้ากับออกให้มันหยุดนิ่ง คือ จับให้อยู่ ลมมันเข้าแล้วมันก็ออก เข้า แล้วก็ออก ถ้าเราจับอยู่ได้ เราจะมีความรู้สึกลมมันนิ่งเหมือนไม่ได้หายใจ พอลมหยุด ใจก็หยุด พอใจหยุดดวงธรรมก็เกิด เป็นดวงสว่าง ใสเป็นแก้วทีเดียว อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หรือยิ่งกว่านั้น

ถ้าหากว่า ลมมาหยุดที่ปากช่องจมูก ก็จะได้ดวงที่ตรงนั้น ถ้าหยุดอยู่ที่กลางทรวงอก ดวงก็อยู่ที่กลางทรวงอก ถ้าอยู่ลึกลงไปอีก ที่สุดของลมหายใจ ดวงก็จะอยู่ที่สุดของลมหายใจคือฐานที่ ๗

ถ้าหยุดดวงอยู่ข้างนอกที่ปากช่องจมูก แล้วตั้งเอาไว้อยู่อย่างนั้นเฉย ๆ เราก็จะไม่พบธรรมกาย ถ้าเอาดวงมาหยุดอยู่ในกลางทรวงอก อยู่เฉย ๆ อย่างนั้น มีแต่ความสุข มีความเบิกบาน มีสติ มีปัญญาอยู่ตรงนั้น และหยุดอยู่เฉย ๆ ก็ไม่พบธรรมกายอีกเหมือนกัน ต้องไปที่สุดลมหายใจคือ ตรงฐานที่ ๗ ตรงที่ลมหยุด

พอลมหยุด ใจก็หยุด เป็นดวงสว่าง และถ้าเข้ากลางดวงนั้นไป ก็จะพบธรรมกาย เพราะฉะนั้นที่ปฏิบัติแล้วไม่พบธรรมกาย ก็เพราะว่าวางผิดที่ คงพอเข้าใจกันนะ เป็นเพราะว่าวางผิดที่

ทีนี้ถ้าเราเริ่มมาจากอนุสสติ ๑๐ อย่าง เช่น เราระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย คุณของพระพุทธเจ้าก่อน พอระลึกนึกถึงคุณท่าน ตั้งแต่พุทธประวัติของท่านเรื่อยมาเลย จิตใจเกิดความเบิกบานชุ่มชื่น มีความสุขภายใน ปล่อยวางอารมณ์ภายนอก พอปล่อยวางอารมณ์ภายนอก ใจก็หยุด

พอใจหยุด แสงสว่างก็เกิด ถูกส่วนเข้าก็รวมเป็นดวง อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หรือยิ่งกว่านั้น

ถ้าหยุดอยู่ข้างนอก ก็ในทำนองเดียวกันกับอานาปานสติ ที่เรากำหนดอยู่ข้างนอกก็ไม่พบธรรมกาย ถ้าหยุดอยู่ในกลางทรวงอก ก็ไม่พบธรรมกาย ต้องน้อมเอาดวงนั้นมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงฐานที่ ๗  จึงจะเข้าถึงพระธรรมกายได้

·       พระคุณของหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

หลวงพ่อวัดปากน้ำทราบอย่างนี้ใน ๔๐ วิธี เพราะท่านทำผ่านมาหมดแล้ว ท่านจึงศึกษาต่อไปก็พบว่า ทางเดินของใจที่จะเข้าถึงฐานที่ ๗ นั้น มีอยู่ทั้งหมด ๗ ฐาน

ฐานที่ ๑ อยู่ที่ปากช่องจมูก
ฐานที่ ๒ อยู่ที่หัวตา หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา
ฐานที่ ๓ อยู่ที่กลางกั๊กศีรษะ
ฐานที่ ๔ ที่เพดานปาก ตรงช่องปากอาหารสำลัก
ฐานที่ ๕ อยู่ที่ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก
ฐานที่ ๖ อยู่ในระดับเดียวกับสะดือ ในกลางท้อง ถ้าเราขึงเส้นเชือกจากสะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้งสอง เรียกว่า ฐานที่ ๖

เหนือจุดตัดนั้นขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ทั้ง ๗ ฐานนี้ คือ ทางเดินของใจ เป็นทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์โลก ของทุก ๆ คน ไปเกิดมาเกิดต้องเข้าตามฐานนี้ เวลามาเกิดเข้าทางปากช่องจมูก แล้วก็มาหยุดอยู่ที่ฐานที่ ๗ เวลาไปเกิดก็ออกจากฐานที่ ๗  จนกระทั่งไปถึงฐานที่ ๑

เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน เมื่อหลวงปู่ท่านทราบว่า มีอยู่ ๓ ประเภท ๔๐ วิธี คือ จิตอยู่ข้างนอก ได้ดวงข้างนอก จิตเข้าข้างใน ได้ดวงข้างใน จิตเข้าตรงกลาง ได้ดวงตรงกลาง ท่านจึงสอนตั้งแต่เบื้องต้นให้กำหนดดวงแก้วเป็นบริกรรมนิมิต

ที่ให้กำหนดดวงแก้ว
เพราะว่าจะปฏิบัติวิธีไหนก็ตาม
พอใจหยุดแล้วต้องได้ดวงสว่าง

ท่านให้เอาดวงสว่างมาจ่อไว้ที่ปากช่องจมูก ให้จรดอยู่ที่ตรงนั้น เพราะว่าบางคนกำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วไปหยุดอยู่ที่ตรงนั้นแหละ มันเห็นตรงนั้น ท่านก็ให้น้อมเข้าไป สูดตามลมเข้าไป

แล้วเลื่อนไปที่ฐานที่ ๒ สำหรับบางท่านปฏิบัติแล้ว ดวงสว่างมันเกิดขึ้นที่หน้าผาก ท่านก็ให้น้อมต่อเข้าไปอีกถึงกลางกั๊กศีรษะ พอไปถึงกลางศีรษะ บางท่านปฏิบัติแล้วได้ดวงสว่างที่กลางกะโหลกศีรษะ ท่านก็ให้ดึงน้อมต่อลงมาอีก มาที่ฐานที่ ๔ บางท่านปฏิบัติแล้วอยู่ที่ฐานที่ ๔ ท่านก็ให้ดึงต่อมาอีก น้อมมาอยู่ที่ฐานที่ ๕ ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก ท่านให้ดึงต่อมาอีก ดึงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงฐานที่ ๗ ตำแหน่งเดียวเท่านั้น ที่ตั้งเดียวเท่านั้นในโลกนี้ ที่จะเข้าถึงศูนย์กลาง เข้าถึงพระธรรมกายได้

เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย ขอได้โปรดทำความเข้าใจว่า วิธีที่ท่านปฏิบัตินี้ถูกต้องแล้ว พระพุทธศาสนาเริ่มต้นจากพระธรรมกายนี้เป็นต้นไป

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสละราชสมบัติ แสวงหาหนทางพระนิพพาน พระองค์ทรงพบกับครูบาอาจารย์ ๖ ท่าน  ๖ ท่านนั้นปฏิบัติไปแล้ว ได้ดวงข้างนอกก็มี ได้ดวงภายในก็มี ได้กายภายในก็มี แต่กายภายในไปสิ้นสุดที่กายอรูปพรหม กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม อรูปพรหม ไปสุดอยู่ที่นั่น สุดอรูปพรหม เรียกว่า ได้สมาบัติ ๘

ครูของท่านสอนให้มาหยุดอยู่ที่ตรงนี้ อาฬารดาบส กับอุทกดาบส มาได้ถึงกายอรูปพรหม แต่ว่าอ่อนแก่กว่ากัน  พระองค์เห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์  จึงได้สละจากครูทั้งหก  แล้วก็ค้นคว้าด้วยตัวเองสืบมา  ด้วยการทรมานตน  ทรมานก็ลำบากไปเปล่า ๆ ก็ไม่ได้ผล  ด้วยวิธีที่เอาใจพัวพันอยู่กับทางโลกก็ไม่ได้ผล  เพราะพระองค์ก็ผ่านมาหมดแล้ว  ในที่สุดก็วางเป็นกลาง ๆ  เอาใจเป็นกลาง ๆ หยุดอยู่ภายใน ผ่านวิธีการต่าง ๆ เข้าไปเรื่อย ๆ พอทะลุกายอรูปพรหมก็ถึงกายธรรม

กายธรรมในเบื้องต้นนั้นเรียกว่า โคตรภู เมื่อเข้าถึงโคตรภู  จึงเปลี่ยนแปลงจากปุถุชนเป็นโคตรภูบุคคล โคตรภูบุคคลเป็นบุคคลที่อยู่กึ่งกลางระหว่างปุถุชนกับพระอริยเจ้า 

อย่างพวกเราทั้งหลายที่ปฏิบัติ บางท่านเข้าถึงโคตรภู ก็หมายถึงว่า ขาข้างหนึ่งก้าวไปสู่ภูมิของพระอริยะ อีกข้างหนึ่งอยู่ในภูมิของปุถุชน  เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างภูมิทั้งสอง  ถ้าประมาท โคตรภูนั้นก็ดับได้ เสื่อมมาอยู่ในภูมิของปุถุชน ถ้าไม่ประมาทก็ก้าวต่อไปได้ถึงภูมิของพระอริยเจ้า แล้วในที่สุดท่านก็ดำเนินจิตไปเรื่อย จนกระทั่งเข้าถึงกายอรหัต เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กายที่สุดที่อยู่ภายในของพระองค์ท่าน

เพราะฉะนั้น พระธรรมกายนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะต้องเข้าถึงพระธรรมกายนี้แหละเป็นเบื้องต้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนร้อยเปอร์เซ็นต์ 

·       อุบาสก อุบาสิกา

คำว่า อุบาสก หรืออุบาสิกา แปลว่า ผู้เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย  หมายถึงว่า ผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ผู้ที่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย

เมื่อตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารกับบริวาร ๑๒ ส่วน

๑๑ ส่วนได้ถึงภูมิของพระอริยเจ้า ๑ ส่วนเข้าถึงไตรสรณาคมน์
๑ ส่วน ที่เข้าถึงไตรสรณาคมน์ หมายถึง ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกายเบื้องต้น คือธรรมกายโคตรภูนั่นเอง

เข้าถึง...ไตรสรณาคมน์

ไตร แปลว่า สาม
สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่ระลึก
คมน์ (คมนะ) แปลว่า เข้าถึง แล่นไปถึง 

ได้เข้าถึง ถึงรัตนตรัย รัตนะทั้งสามภายใน มีธรรมกายปรากฏอยู่ คือ ธรรมกายโคตรภูนั่นเอง หน้าตักหย่อนกว่า ๕ วา นิดหน่อย คือ ไม่ถึง ๕ วา แล้วก็หย่อนลงมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เล็กนิดเดียวกระทั่งเกือบ ๕ วา เรียกว่า โคตรภู เพราะฉะนั้นถึงอันนี้ได้ก็เป็นโคตรภูบุคคล ถ้ามั่นคง ถ้ายังไม่มั่นคงก็ได้แค่ได้ ยังไม่เป็น

ดังนั้น บริวาร ๑ ส่วนของพระเจ้าพิมพิสาร ที่ถึงไตรสรณาคมน์นั้น หมายถึงว่าเข้าถึง ได้ไปพบไปเห็นว่าพระธรรมกายมีจริงอยู่ภายใน พระรัตนตรัยอยู่ภายใน เมื่อเข้าถึงได้ก็มีความสุข มีความเบิกบาน สดชื่นอยู่ภายใน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจะต้องพยายามให้เข้าถึงพระธรรมกายนี้ให้ได้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์

คุณครูไม่ใหญ่

๒๙ ธันวาคม พ.. ๒๕๒๘

26 ความคิดเห็น:

  1. ครับ ลงมือ ทำแล้วครับ แม้ยังเข้าไม่ถึงจุดสว่าง ก้อเชื่อมั่น ว่าทางที่ทำ นำไปสู่ความเห็นถูก

    ตอบลบ
  2. ครับ ลงมือ ทำแล้วครับ แม้ยังเข้าไม่ถึงจุดสว่าง ก้อเชื่อมั่น ว่าทางที่ทำ นำไปสู่ความเห็นถูก

    ตอบลบ
  3. ทำได้ ถ้าได้ทำ ทำไม่ได้เพราะไม่ได้ทำค่ะ

    ตอบลบ
  4. ทำได้ ถ้าได้ทำ ทำไม่ได้เพราะไม่ได้ทำค่ะ

    ตอบลบ
  5. ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง ทำแทนกันไม่ได้ ปฏิบัติเป็นแล้วจะรู้ด้วยตัวเอง ตัวเองรู้สึกตัวเองว่ามีความสุข เป็นคนมีเหตุผลมากขึ้น พระอาจารย์บอกว่า ถ้าเราทำใจหยุดใจนิ่งเพียง ช้างกระกระดิกหู งูแลบลิ้น เพียงแค่นี้ก็จะรู้สึกได้มีความสุขมาก ลองปฏิบัติดูนะคะ

    ตอบลบ
  6. ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง ทำแทนกันไม่ได้ ปฏิบัติเป็นแล้วจะรู้ด้วยตัวเอง ตัวเองรู้สึกตัวเองว่ามีความสุข เป็นคนมีเหตุผลมากขึ้น พระอาจารย์บอกว่า ถ้าเราทำใจหยุดใจนิ่งเพียง ช้างกระกระดิกหู งูแลบลิ้น เพียงแค่นี้ก็จะรู้สึกได้มีความสุขมาก ลองปฏิบัติดูนะคะ

    ตอบลบ
  7. เรื่องนี้อธิบายได้ละเอียดดีมากเลยค่ะ อยากแชร์ในเฟซบุค ทำอย่างไรคะ สาธารณชนจะได้เข้าใจวิชชาธรรมกายกันให้ถูกต้อง

    ตอบลบ
  8. เรื่องนี้อธิบายได้ละเอียดดีมากเลยค่ะ อยากแชร์ในเฟซบุค ทำอย่างไรคะ สาธารณชนจะได้เข้าใจวิชชาธรรมกายกันให้ถูกต้อง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แชร์ link นี้ได้เลยค่ะ...

      แชร์ต่อ...ได้บุญ
      ธรรมกายไม่ใช่ลัทธิใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่

      http://dhamma01.blogspot.com/2016/06/blog-post_10.html

      ลบ
  9. ในบทธรรมคุณ 6 ประการ ซึ่งข้อที่ 6 ได้กล่าวว่า
    "ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน" คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของเฉพาะตน ดังนั้น จึงขอเชิญมาศึกษาและลงมือปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ความจริงเถิด ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำฯ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) ท่านได้รับรองไว้ว่า "ธรรมกาย" เป็นของจริง ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้เข้าถึงฯ

    ตอบลบ
  10. ธรรมกายมีในศาสนาพุทธหรือไม่ อย่าไปฟังใคร สมัยนี้ค้นเองเลย บางท่านบอกว่า ธรรมกาย=หมวดหมู่ธรรม แต่หลวงพ่อสดยืนยันจากการปฏิบัติว่าเป็นกายที่เกิดตอนตรัสรู้ประกอบด้วยธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ พระไตรปิฏกเล่ม 26 หน้า 290 ใช้คำว่า พระพุทธเจ้า “เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย” คุณว่าคำอธิบายไหนตรงกับพระไตรปิฏกมากกว่ากัน
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=%B8%C3%C3%C1%A1%D2%C2&book=1&bookZ=45

    ตอบลบ
  11. เมื่อใจสงบหยุดอยู่กลางกายจะพบพระภายใน สาธุๆๆครับ

    ตอบลบ
  12. เมื่อใจสงบหยุดอยู่กลางกายจะพบพระภายใน สาธุๆๆครับ

    ตอบลบ
  13. เมื่อปฏิบัติจนใจหยุดที่ศูนย์กลางกายนั่นแหละจะเกิดความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน และจะซึ้งถึงคำสอนที่สรุปของหลวงปู่วัดปากน้ำฯว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"

    ตอบลบ
  14. เมื่อปฏิบัติจนใจหยุดที่ศูนย์กลางกายนั่นแหละจะเกิดความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน และจะซึ้งถึงคำสอนที่สรุปของหลวงปู่วัดปากน้ำฯว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"

    ตอบลบ
  15. เนื้อหาดีมากเลยครับ ชอบๆ

    ตอบลบ
  16. ใครปฏิบัติตามนี้ จะได้รับผลตามนี้
    เบื้องต้นความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ท่านจะได้รับ
    เป็นความสุขที่ไม่สามารถหาได้จากที่ไหนในโลก
    เป็นความสุขที่เรียกได้ว่า "สุขจริงหนอ" เราจะเข้าใจคำๆนี้จริงๆ มาเถิดท่านจงมาดูเถิด

    ตอบลบ
  17. จะหมั่นฝึกฝนต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงที่สุดแห่งธรรม สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  18. ลงมือทำให้อย่างสม่ำเสมอ สังเกตุตนเอง

    ตอบลบ
  19. เป็นมหากรุณาของมหาปูชนียาจารย์พระเดชพระคุณหลวงปู่ คุณยาย หลวงพ่อที่ถ่ายทอดแก่นธรรมพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าไม่มีประมาณสู่พุทธบริษัท 4 และมวลมนุษยชาติทั่วโลกเจ้าค่ะ สาธุ

    ตอบลบ
  20. Wat Phra Dhammakaya. World Peace through Inner Peace
    info@dhammakaya.net
    www.dmc.tv

    ตอบลบ

Facebook