ปรับทรรศนะให้ถูกต้อง
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวัดพระธรรมกาย
(คำสอนคุณครูไม่ใหญ่2)
เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
เรื่องพระศาสนาให้เอาอุเบกขาวาง
ต้องจำวาทธรรมนี้เอาไว้ให้ดี เราจะได้ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา
เอาไว้ให้เป็นที่พึ่งต่อชาวโลก ลูกหลาน เหลน โหลนของเรา เหมือนอย่างที่บรรพบุรุษของเราได้รักษาสืบทอดกันมาเพื่อตัวเรานี่แหละ
บรรพบุรุษของเรา ท่านปกป้องผองภัยพระพุทธศาสนาด้วยชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม ซึ่งก็มีวิธีปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยชีวิตที่แตกต่างกัน
ที่เป็นคฤหัสถ์ก็เอาชีวิตเป็นเดิมพันเลย
ที่เป็นบรรพชิตก็เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
คือ ตายในผ้าเหลือง เพราะถือว่า การตายในผ้าเหลืองนี้ เป็น
เกียรติยศอันสูงสุดของพระภิกษุ สามเณร เหมือนทหารที่เข้าสู่สมรภูมิ
ตายในสมรภูมิ กลับมาก็จะได้รับการอัญเชิญมาอย่างสมเกียรติ มีธงชาติคลุมร่างกาย มีเกียรติ มีคุณค่า ได้รับการยกย่องเทิดทูนไปทั้งประเทศ
นักรบกองทัพธรรมก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกำลังรบหลัก คือ ภิกษุ
สามเณร ก็จะต้องตายในผ้าเหลือง ความคิดว่าจะสึก อย่าให้มีอยู่ในใจ
จะต้องคิดอย่างเดียวว่า
ทำอย่างไร...เราจะทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทำอย่างไร...เราจะเป็นเนื้อนาบุญ
ทำอย่างไร...เราจะเป็นอายุพระศาสนา
ทำอย่างไร...เราจะให้ความกระจ่าง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวความ
เป็นจริงของชีวิตให้ชาวโลกทั้งหลายได้รู้แจ้งเห็นจริง จะได้ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีสุคติโลกสวรรค์และนิพพานเป็นที่ไป นี่ก็เป็นสิ่งที่พุทธบุตรทุก ๆ ท่านจะต้องนึกคิดอย่างนี้
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
---------------------------------
อย่าวางเงียบ ! ถ้ารักสงบตอนนี้
ต่อไปจะไม่สงบ
ชาวพุทธนี่แปลก
เวลามีเรื่องราวอะไรมากระทบถึงพระศาสนา
มักจะอยู่กันเฉย ๆ วางอุเบกขา
แล้วก็ชอบมาลุยกันเอง ถนัดนักลุยกันเอง
แต่ความจริงแล้ว ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
ถ้าเป็นเรื่องพระศาสนา ให้เอาอุเบกขาวาง
แล้วลุยกันเลยตามหลักวิชชา
ลุยในที่นี้ ไม่ใช่เอาไม้ไปตีหัวเขานะ
แต่หมายถึง ให้รวมพลังสร้างความดี และอะไรที่เขาเข้าใจไม่ถูกต้อง
เราก็ต้องชี้แจง อย่าให้เขาคิดเอง เพราะถ้าให้เขาคิดเอง เขาก็คิดอย่างนั้นพูดอย่างนั้น แล้วมันก็กระทบ แล้วจะกระเทือนไปทั่วสังฆมณฑลไปหมด
ดังนั้น ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว วางอุเบกขาได้
แต่ถ้าเรื่องพระศาสนา ต้องเอาอุเบกขาวาง
แล้วรวมตัวไปชี้แจงด้วยเหตุผล เป็นต้น
ต้องตื่นตัว ไม่ใช่วางเงียบกัน
ถ้ารักสงบตอนนี้ ต่อไปมันจะไม่สงบ !
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
-------------------------------
วัดพระธรรมกาย..ไม่ใช่นิกายใหม่
“วาทกรรม” คือ ถ้อยคำที่พูดซ้ำ?ๆ บ่อย ๆ
ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม จริงหรือโกหกก็ตาม
พูดบ่อย ๆ จนคนเชื่อว่า เป็นความจริง
ครูไม่ใหญ่เจอวาทกรรมเรื่อยเลย สมัยก่อนตอนสร้างวัดใหม่ ๆ มีคน
ไปให้ข้อมูลสื่อ แล้วก็คุยต่อ ๆ กันว่า ใต้ถุนโบสถ์มีอาวุธ ตอนแรกก็เหมือนพูดเล่นสนุก ๆ แต่พอกระทุ้งกันไปเรื่อย ๆ ก็มีคนเชื่อนะ
ในยุคนั้น ใครมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี จะต้องแวะเวียน
มาเยี่ยมวัดพระธรรมกาย โดยมีวัตถุประสงค์จะไปดูใต้ถุนโบสถ์ ต้องมุดลงไปดู ลำบากทีเดียว ปรากฏว่าไม่มีอาวุธ พอหมดวาระ คนใหม่มารับตำแหน่ง ก็มาดูอีกแล้ว หรือท่านนายอำเภอคลองหลวงก็มาเยี่ยมเยียนใต้ถุนโบสถ์ รู้สึกว่าที่นั่นเป็นที่รับแขกอย่างดี
หมดยุคนั้น ก็มายุคคอมมิวนิสต์ เขาก็แต่งตั้งให้เป็นคอมมิวนิสต์
อีกแล้ว
ต่อมาว่า วัดพระธรรมกายเป็นนิกายใหม่ ตอกย้ำซ้ำเดิมไปเรื่อย ๆ
เป็นนิกายใหม่ ๆ เพราะสอนเรื่องธรรมกาย คือ มีมหานิกาย และ ธรรมยุติก-นิกายแล้วมี ธรรมกาย แถมวัดชื่อวัดพระธรรมกาย มีคำ ว่า “กาย” อยู่ข้างหลัง เพราะฉะนั้นต้องเป็นนิกายใหม่
ตอนแรกใหม่ ๆ ครูไม่ใหญ่ขำนะ ตอนหลัง เอ๊ะ ! นี่เล่นเอาจริง
แล้วนะ ไม่ว่าเราจะยืนยันซ้ำไปแค่ไหน แต่เรายืนยันวาทกรรมน้อย
กว่าเขา เขากระทุ้งกันเรื่อย ๆ เลย
ก็ได้ยืนยันเป็นช่วง ๆ นาน ๆ สักครั้งหนึ่งว่า พระเดชพระคุณหลวงปู่
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านอยู่ในมหานิกาย นิกายดั้งเดิม ซึ่งแต่เดิมมีนิกายเดียว แล้วมาเปลี่ยนตอนไหน ที่มาแยกเป็น ๒ นิกาย อันนี้ครูไม่ใหญ่ไม่มีความรู้ ก็ไปแสวงหาความรู้เอา
แล้วต่อมา ครูไม่ใหญ่ก็บวชที่วัดปากน้ำ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ท่าน
ก็มหานิกาย พ่อเป็นมหานิกาย ลูกก็มหานิกาย มันจะนิกายใหม่ตรงไหนยังนึกไม่ออก แต่เชื่อไหมวาทกรรมนี้คนเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น วัดพระธรรมกาย ไม่ใช่นิกายใหม่
แต่เป็นพุทธเถรวาท มหานิกาย
แล้วจริง ๆ ไม่อยากให้แยกนิกาย
อยากให้รวมกันแล้วไปศึกษาค้นคว้าความรู้ดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างแท้จริง
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
-------------------------------
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
พระทุกวัดจะต้องรักกัน อย่าแบ่งแยกกัน เป็นวัดนั้น วัดนี้ นิกายนั้น
นิกายนี้ เราได้ทดลองทำ อย่างนั้นมาแล้ว ลองแยกนิกายแล้ว นึกว่ามันจะดีปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันนี้มันไม่ดี มีปัญหากันเรื่อยมา
หมดเวลาที่จะแบ่งแยกแล้ว ถึงเวลาแล้วที่พระต้องรวมเป็นหนึ่ง
คิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน คิดถูก พูดถูก ทำถูก
ไปพร้อม ๆ กันเหมือนในสมัยพุทธกาล
ถ้ารวมกันเป็นหนึ่งเป็นนิกายเดียว “พุทธนิกาย” ไม่มีนิกายนั้น
นิกายนี้ แล้วมีความรักสมัครสมานสามัคคีกัน มุ่งทำพระนิพพานให้แจ้งดังวาทธรรมที่ว่า
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
ดวงตะวันไม่มีข้างแรม ไม่มีแหว่ง ไม่มีเว้า เหมือนพระจันทร์
มีอยู่ดวงเดียวทำหน้าที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลก พุทธบุตรเช่นเดียวกัน
ต้องรวมกันเป็นหนึ่ง เพราะเป็นผู้ให้แสงสว่างส่องทางชีวิตให้ชาวโลก
เหมือนดวงตะวันอย่างนั้น
ถ้าต่างคนต่างทำ แล้วไม่รักกัน มันก็ไม่มีพลัง ไม่มีประโยชน์ เพราะ
ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องรวมกัน แล้วไปศึกษาคำสอนดั้งเดิมของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนอย่างไร มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรจะได้ทำเหมือน ๆ กัน จะได้คิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ทำเหมือนกันอย่างนี้ถึงจะถูกหลักวิชชา
พูดตอกย้ำซ้ำเดิมไปเรื่อย ๆ จนกว่าพุทธบริษัท ๔ จะเข้าใจ และ
รวมกันเป็นหนึ่ง ให้เหมือนสมัยพุทธกาล
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
--------------------------------
วิชชาธรรมกาย
คำว่า “วิชชาธรรมกาย” ประกอบด้วย ๒ คำ คือ คำว่า “วิชชา”
กับคำว่า “ธรรมกาย”
คำว่า “วิชชา” แตกต่างจากคำว่า “วิชา” ในทางโลกที่เราได้เคย
ศึกษาเล่าเรียนกัน
วิชาทางโลกนั้นเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใน ๒ ระดับ คือ
ระดับสุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา คือ ความรอบรู้ที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน
ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นการรู้จำ คือ จำในสิ่งที่ผู้รู้ ไม่ว่าจะมีความรู้
สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม ได้บันทึกเรื่องราวสิ่งที่รู้เห็นเอาไว้เป็น
วิทยาทานให้ได้ศึกษากันสืบต่อมา
จินตามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการนำมาคิดพิจารณา
หาเหตุผลแบบนักคิดทั่วไป ความคิดบางครั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง
นี่เป็นปัญญาใน ๒ ระดับ แต่ปัญญาในพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับ
ระดับที่ ๓ คือ ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝน
ลงมือปฏิบัติแล้ว ในระดับที่อยู่นอกเหนือเหตุผลธรรมดา เราจะอาศัย
เหตุผลธรรมดามาใช้ไม่ได้เลย เพราะภาวนามยปัญญาเป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง คือ จิตต้องเกิดดวงสว่างขึ้นมา และความสว่างนั้นนำไปสู่จักษุธรรมจักษุเกิดขึ้น หรือญาณทัสนะเกิดขึ้น สว่างแล้วจึงเห็น เห็นแล้วจึงรู้
เพราะฉะนั้น “วิชชา” จึงหมายถึง ความรู้แจ้งที่เกิดจากการ
เห็นแจ้ง ความเห็นที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายแล้ว เกิด
ปัญญาบริสุทธิ์ รู้เห็นไปตามความเป็นจริง รู้ทั่วถึง รู้พร้อม แล้วก็รู้ไปสู่
เป้าหมาย เหมือนของที่อยู่ในที่มืดดึงมาอยู่กลางแจ้งเราก็จะเห็นชัดเจนเช่น เชือกเปียกน้ำ ถ้าอยู่ในที่มืด ๆ บางทีเราอาจจะคิดว่าเป็นงู หรือเป็นตัวอะไรที่มันยาว ๆ หรืออาจจะเป็นเชือก ต้องใช้สมมติฐานด้นเดาถูกบ้างผิดบ้าง แต่ว่าเมื่อลากมาอยู่กลางแจ้ง ก็รู้ชัดว่านี่แค่เชือกเปียกน้ำเท่านั้น
คำว่า “ธรรมกาย” ในพจนานุกรม แปลว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
เขาแปลได้แค่นั้น คือ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมกัน
เรียกว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
มีนักศึกษาชาวตะวันตกสองสามีภรรยาเขาได้ค้นคว้ารวบรวม
ความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกได้ ๕๐ กว่าความหมายมีความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ เขาบอกว่า ธรรม มีลักษณะเป็นดวงกลม ๆใส ๆ สว่าง ๆ และมีตัวตน เพราะฉะนั้น “ธรรมกาย” คือ กายที่ประกอบไปด้วยธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมเกิดเป็นก้อนกายเป็นกายที่มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ
เพราะฉะนั้น “วิชชาธรรมกาย” ก็คือความรู้แจ้งที่เกิดจากการ
เห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุ แล้วก็รู้ได้ด้วยญาณทัสนะของธรรมกายนั่นเอง
นี่เป็นเรื่องสำคัญ
วิชชาธรรมกายเกิดขึ้นได้ด้วยธรรมกาย เป็นที่ประชุมรวมอยู่ตรงนั้น
มีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน มีมาดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โน้น
เริ่มต้นเมื่อไร ไม่มีใครทราบ
การที่เราเคารพกราบไหว้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ
พระองค์ทรงบรรลุวิชชาธรรมกายก่อน แล้วได้ทรงนำมาเปิดเผยกระทั่งมีผู้รู้แจ้งตามพระองค์ เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมมากมาย แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี ความรู้ยิ่งนี้ก็หายไปคงเหลือไว้แต่ชื่อ คือ คำว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนาในนิกายต่าง ๆ ทั้งวัชรยาน มหายาน และเถรวาท แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าธรรมกายนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เข้าถึงได้อย่างไร
จนกระทั่งเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้
สละชีวิตปฏิบัติธรรมกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียงจังหวัดนนทบุรี ความลับนี้จึงได้เปิดเผยออกมาสู่ชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านบวชเมื่ออายุ ๒๒ ปี บวชได้
หนึ่งวัน รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็ปฏิบัติธรรมแล้วก็ศึกษาทางด้านปริยัติ ศึกษาหมดทุกสำนัก แต่ไม่ได้สอบเป็นมหาเปรียญ รู้ว่าสำนักไหนมีครูดี ชำนาญในพระไตรปิฎก ท่านก็จะไปศึกษาทุกหนทุกแห่ง ทั้งศึกษาด้วยตัวเองด้วยจากครูบาอาจารย์ตามสำนักต่าง ๆ ด้วย
แล้วในที่สุดท่านก็สรุปว่า ความรู้จะสมบูรณ์ได้จะต้องประกอบไป
ด้วย ๓ ป. คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติก็คือการศึกษาด้านทฤษฎีต้องอ่าน ต้องศึกษา ท่านอ่านหมดในพระไตรปิฎก แล้วก็ปฏิบัติด้วยตนเองเรื่อยมา ไม่ว่างเว้นในการปฏิบัติเลยแม้แต่วันเดียว รู้ข่าวคราวว่า ครูไหนสำนักไหนมีการปฏิบัติ ก็ยอมตนเข้าไปเป็นศิษย์ไปศึกษา ได้เข้าถึงที่สุดแห่งความรู้ของครูบาอาจารย์ ซึ่งได้แค่ดวงสว่างปรากฏอยู่ แล้วครูก็ชวนท่านช่วยกันสั่งสอนศิษย์เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ของท่าน
แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ มีความคิดว่า ความรู้แค่นี้
เหมือนหางอึ่งนิดเดียว จะไปเป็นครูเขาได้อย่างไร ท่านจึงกราบลามาด้วยความเคารพ แล้วก็ไปศึกษาวิธีการต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรค ๔๐ วิธีก็ศึกษากันมาทั่วหมดทุกสำนัก
แต่ก็ยังไม่จุใจ เพราะท่านมีความรู้สึกว่า ยังไม่ถึงจุดของความรู้ตาม
ที่ได้ศึกษาภาคปริยัติมา ในที่สุดหลังจากที่ศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตามสำนักต่าง ๆ มาจนย่างเข้าพรรษาที่ ๑๒ ของการบวช ในกลางพรรษาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า
“วันนี้เป็นไงเป็นกัน ถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ จะไม่ลุกจากที่ จะนั่งปล่อยชีวิตอย่างนี้เรื่อยไป
แม้เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่รู้
ไม่เห็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ตายเถอะ”
นี่เป็นความอัศจรรย์ของภิกษุหนุ่มวัย ๓๓ ปี ซึ่งยังไม่ได้รู้เรื่องราว
อะไรเลยเกี่ยวกับหนทางไปนิพพาน ได้ศึกษาแต่พระปริยัติ
แล้วในที่สุดวันนั้น ตามประวัติที่ท่านบันทึกเอาไว้ ท่านได้ทำความ
เพียรที่วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ปัจจุบันนี้ในโบสถ์นั้นก็ยังมีพระพุทธรูป
องค์ดั้งเดิมอยู่ ที่นั่งก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ราบเรียบ ท่านก็เลือกเอามุมหนึ่ง
เป็นสถานที่นั่งสมาธิ ตัดสินใจยอมสละแม้ชีวิต เอานิ้วจุ่มน้ำมันก๊าดเพื่อจะขีดวงกันมดที่ไต่ตามช่องแตกของพื้นหินไม่ให้มารบกวน แต่ขีดไปได้ครึ่งหนึ่งท่านก็นึกละอายใจว่า สละชีวิตแล้วยังมากลัวมดอีก จึงตัดสินใจหลับตาปล่อยชีวิตไปเลย
ท่านบอกว่า ค่อนคืนทีเดียวจึงได้บรรลุถึงธรรมกาย บรรลุถึง
ธรรมกาย แล้วท่านก็บอก โอ! มันยากอย่างนี้นี่เอง มันต้องดับก่อนแล้วจึงเกิด คือ ใจต้องหยุดต้องนิ่งเสียก่อน ถูกส่วนถึงจะเห็นไปตามลำดับ เห็นไปได้ ๕ กายจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าก็รู้ว่านี่แหละ คือ กายธรรม เป็นกายตรัสรู้ธรรมอยู่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ท่านตรวจตราทบทวนดูอย่างดีทีเดียว จนกระทั่งมั่นใจว่า นี่ถูกทาง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ทบทวนทำความเพียรไปทั้งคืน
จนกระทั่งติดอยู่ในกลางท่าน แล้วต่อมาท่านก็เห็นในญาณทัสนะว่า จะมีผู้บรรลุธรรมกายตามท่านอยู่ที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ภายในพรรษานั้น ท่านก็ทบทวนแล้วก็ศึกษาวิชชาธรรมกายด้วย
ธรรมกายภายในกลางกายเรื่อยไป ในที่สุดออกพรรษาแล้วก็ได้ไปที่วัดบางปลา มีผู้บรรลุธรรมตามท่าน เป็นพระภิกษุ ๓ รูป ฆราวาส ๔ ท่าน ตรงตามที่ท่านได้เห็นในญาณทัสนะ แล้วก็เริ่มเผยแผ่ธรรมเรื่อยมาจนกระทั่งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เพราะฉะนั้น การที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ค้นพบ “วิชชา
ธรรมกาย” ทำให้พวกเราทั้งหลายรู้จัก “ธรรมกาย” ว่ามีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด และเป็นเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่ต่างเกิดมาก็เพื่อแสวงหาธรรมกาย พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีพระคุณต่อชาวโลกและเป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
----------------------------
วัดพระธรรมกาย..
พุทธดั้งเดิม ไม่ใช่นิกายใหม่
ในสมัยพุทธกาลไม่มีนิกายนะ
มีแต่ "ธรรมกาย"
เพราะสมัยนั้นเขาปฏิบัติ
จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายกันเป็นเรื่องปกติ
แค่ได้ยินได้ฟังธรรมก็บรรลุธรรมาภิสมัย
บรรลุธรรมกันแล้ว
แต่ต่อมาก็ย่อหย่อนในการปฏิบัติ ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ
ธรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษาอะไรเหล่านี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำสอนก็เลยเลอะเลือนเลือนรางไป มีแต่คำว่า ธรรมกาย ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาซึ่งกระจัดกระจายไปตามนิกายต่าง ๆ
แล้วก็มีนักคิดเกิดขึ้น ก็คิดกันไปตามเรื่องตามราวเท่าที่ตัวเองจะ
เข้าใจ โดยใช้จินตามยปัญญา มีบางพวกเจริญภาวนาเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไปไม่ถึงจุดตรงนั้น เพราะฉะนั้นความเห็นจึงแตกต่างกันไป นิกายก็เลยเกิดขึ้น
ในภายหลัง
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่บังเกิดขึ้น แล้วก็ได้มีการค้นพบวิชชา
ธรรมกายเกิดขึ้นมา เราจึงปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่ว่าผู้ที่มาภายหลังนั้นไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไม่ได้ปฏิบัติ หรือได้ปฏิบัติแต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่าธรรมกายคือนิกายใหม่ เพราะมีคำว่า "กาย"
เพราะฉะนั้น ดั้งเดิมมีแต่ธรรมกาย ไม่มีนิกายอะไรต่าง ๆ นิกายเพิ่ง
มาเปลี่ยนแปลงภายหลัง และมาเหมาเข้าใจว่า ธรรมกายคือนิกายใหม่ไม่ใช่นิกายใหม่ และก็ไม่ใช่นิกายเก่า แต่ว่าเป็นของดั้งเดิมในสมัยพุทธกาลในยุคที่ไม่มีนิกาย มีแต่ ธรรมกาย และเพิ่งมาเป็น ธรรมกลาย ในภายหลังมี ล ลิง เพิ่มเติมขึ้นมาอีก คือ กลายไปเป็นโน่นเป็นนี่อะไรต่าง ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นหนี้พระคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่มาก
นอกจากการปฏิบัติบูชาหรืออามิสบูชาแล้ว ก็คิดที่จะตอบแทนพระคุณท่าน จึงได้สร้างรูปหล่อทองคำ รูปเหมือนท่านขึ้นมา แล้วก็ชักชวนผู้มีบุญทั้งหลายมาหล่อรูปบุคคลสำคัญของโลกและจักรวาล ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต และมีความมั่นใจว่า พระพุทธเจ้ามีจริงพระธรรม พระสงฆ์มีจริง ๆ
เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยจะเข้าใจกันนะ ยิ่งเรียนทางโลกมาก ๆ ยิ่งไม่ค่อย
จะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริง เขาบอกว่า พระไตรปิฎกนี่ผู้เขียนต้องเป็น
นักคิดที่ยิ่งใหญ่ โอ ! ถ้าใครคิดได้ขนาดนี้ โดยไม่ได้ค้น ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงกะโหลกจะบาน สติจะเฟื่องเสียก่อน
เพราะฉะนั้น ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ได้เกิดจากความคิด
แต่เกิดจากการเห็นแจ้ง แล้วจึงรู้แจ้งแทงตลอด แล้วนำมาบันทึกถ่ายทอดกันมา ให้มวลมนุษยชาติได้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พอดำเนินชีวิตถูกต้องก็ปิดประตูอบาย แล้วก็เปิดประตูสวรรค์กัน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ
๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
----------------------------
วอนสื่อมวลชน
ได้โปรดอย่าทำลายหัวใจชาวพุทธ
นักข่าวมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว อันนี้ถูก
แต่ต้อง “พอดี” ต้องอย่าเหลิงเจิ้งเรื่อยเปื่อย
จนกระทั่งเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
กับบุคคลที่พาดพิงถึง หรือกับสังคม
พอดี ดูตรงไหน
ดูว่า มันเหมาะ มันควรไหม ถ้าเหมาะควรก็ทำไปเลย
ถ้าเรื่องจริง มีประโยชน์...เขียนไป
เรื่องจริง แต่ไม่เกิดประโยชน์...ไม่เขียน
เรื่องจริง มีโทษ...ไม่เขียน
ถ้ายิ่งเรื่องไม่จริง...ยิ่งไม่ควรเขียน
ดูว่าอะไรถูกผิด อาจดูได้ไม่ยาก แต่เหมาะควร เราจะเอาอะไรมา
เป็นเกณฑ์ พระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า
สิ่งไรที่เราคิด พูด หรือทำ น้อมไปในทางกุศลธรรม คือยังกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เจริญยิ่งขึ้น อย่างนี้เรียกว่าเหมาะควร
แต่สิ่งไรตรงกันข้ามกัน น้อมไปทางอกุศลธรรม ทำให้เกิดเป็นภาพ
ลบติดในใจ เกิดปัญหาสังคม เกิดความทุกข์ หรือเกิดวิบากกรรมอย่างนั้นไม่เหมาะไม่ควร
เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่น้อมไปทางกุศลธรรม ยกระดับจิตใจให้สูงส่งขึ้น
สิ่งนั้นควรทำ
โดยเฉพาะเรื่องพระศาสนา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะ
ทุกชีวิตที่เกิดมามีความทุกข์นะ ตั้งแต่ทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นทุกข์ประจำ กับทุกข์ที่จรมาอีกมากมาย ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาอะไรไม่ได้สิ่งนั้นก็ทุกข์ หรือพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์จากการเสื่อมลาภเสื่อมยศ มีคนนินทา มีทุกข์กายทุกข์ใจอะไรอีกสารพัด เยอะแยะไปหมด
เมื่อชีวิตมนุษย์มีทุกข์ เขาย่อมหาที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ศาสนาหรือ
คำสอนจากพระศาสดาของทุก ๆ ศาสนานั่นแหละจะเป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมวลมนุษยชาติ เพราะฉะนั้นพระศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่ควรแตะอย่างยิ่ง เพราะเป็นหนึ่งในสถาบันหลัก และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจดังกล่าวและในความเป็นจริงแล้ว เขาก็มีการปกครองไปตามลำดับ
พระอาจารย์รูปหนึ่ง เป็นพระพม่าที่อยู่เกาหลี ท่านเล่าให้ฟังว่า ที่
ประเทศพม่า มีการห้ามออกสื่อที่เป็นการตำหนิพระรัตนตรัยอย่างเข้มงวดหรือแม้แต่ในประเทศเกาหลีเองก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กระผมติดตามข่าวสารที่นี่มาตลอด พบว่าเรื่องที่จะมีการออกสื่อในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตี ดูถูก เหยียดหยาม เหยียบย่ำพระพุทธศาสนาให้ตกต่ำ จะไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลี
แถมยังมีกฎหมายคุ้มครอง โดยไม่ให้ออกสื่อใด ๆ เพื่อมุ่งทำลาย
ศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ห้ามตำหนิ ใส่ร้าย ป้ายสี จ้วงจาบ โจมตีพระและพระพุทธศาสนา แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้น คณะสงฆ์ก็จะจัดการกันเองในส่วนที่เกี่ยวข้องที่ปกครองกันมาตามลำดับ แต่ไม่ใช่นำมาขยายเพื่อให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา
แล้วยังมีผู้ดูแลกฎหมายศาสนาของภาครัฐคอยเช็คและดูแลสื่อ
เพราะไม่อนุญาตให้ออกข่าวใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งทำลาย หรือ
ทำร้าย หรือว่าร้ายพระพุทธศาสนา เพราะถือว่าข่าวศาสนาจะส่งผลต่อ
จิตใจของประชาชน
หรือแม้แต่เวลาที่ต่างศาสนาเข้ามาเผยแผ่ที่เกาหลี ก็ห้ามออกสื่อ
เขียนว่าร้ายพระพุทธศาสนาเช่นกัน ในทางตรงกันข้าม ที่เกาหลีจะมี
หนังสือพิมพ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ฉบับ จะลงข่าวดี ๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ การจัดงานบุญของวัดต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมหรือประสบการณ์ทางธรรมของพระรูปต่าง ๆ เพื่อยกระดับใจให้สูงขึ้นหรืออย่างน้อยก็ดับทุกข์ของชีวิตในใจของแต่ละคนได้ในแต่ละวัน
คือมีข่าวดีออกมารายวัน เพราะคนมีทุกข์รายวัน เพราะฉะนั้น
หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็มีรายวัน เขียนแนะวิธีการดับทุกข์ไม่ใช่เขียนแนะวิธีการสร้างทุกข์ หรือขยายทุกข์ ขยายความเครียดระบาดไปทั่วสังคมหมดเลย จนกระทั่งในใจของแต่ละคนถูกยัดเยียดด้วยข่าวที่ทำให้เร่าร้อน ตั้งแต่ตื่นกระทั่งหลับ วิพากษ์วิจารณ์กันไปตั้งแต่ในครอบครัว ออกมานอกบ้าน ไปโรงเรียน ไปที่ทำงาน ในทุกหนทุกแห่งความเครียดมันก็ระบาดไปทั่วสิ ไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย
ท่านยังกล่าวอีกว่า กระผมประหลาดใจ ตอนที่กระผมเคยอยู่เมืองไทย
ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ถือ
เป็นหัวใจของประเทศ แต่ทำไมถึงเห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ลงแต่เรื่องไม่ดีของพระ แล้วก็ขยายความมุ่งโจมตี จนคนเสื่อมศรัทธา ทำไมต้องทำลายหัวใจของเราเอง ตอนแรก กระผมอ่านก็งง ๆ ตอนหลัง ๆ ก็เลยไม่อยากจะสนใจอ่านอีก ก็งงอยู่ว่า จะทำลายพระก็ทำลายกันง่าย ๆแบบนี้เอง นี่ท่านว่าของท่านออกมาอย่างนี้นะ
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
--------------------------------
พุทธศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง
ของมวลมนุษยชาติ
เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ
ชีวิตมนุษย์มีทุกข์มากเกินพอแล้ว
ได้โปรด...อย่าทำลายศรัทธา
อย่าทำลายหัวใจชาวพุทธ
อย่าทำลายหัวใจของเราเอง
วิบากกรรมสื่อเสี้ยม บิดเบือน
ทำลายพระพุทธศาสนา
มีคำถามว่า ผู้ที่จงใจเสนอข่าวบิดเบือน เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธ
ศาสนา ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เป็นความจริง กับผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจบิดเบือนข่าวพระพุทธศาสนา แต่เพราะตนเองเข้าใจผิดจริง ๆ แต่ก็มีผลสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ทั้งสองประเภทนี้จะได้รับวิบากกรรมเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ทั้งสองประเภทนี้ จะได้รับวิบากต่างกัน คือ พวกแรกจะหนักกว่า
เพราะมีอกุศลเจตนาอย่างแรงกล้า ซึ่งก็จะมีวิบากกรรมให้ไปมหานรก
นี่แค่ตัวอย่างนะ จะถูกนายนิรยบาลจับบิดตัว ถลกหนังออก แล้ว
เอาปากกาเหล็กร้อนเขียนไปบนเนื้อ แล้วถูกทิ่มแทงด้วยอุปกรณ์การเขียนที่เป็นเหล็กร้อน หรือฝนตัวอักษรที่เคยบิดเบือนเอาไว้ เขียนไว้เป็นล้าน ๆคำตกใส่ เป็นตัวอักษรเหล็กร้อน ทุกข์ทรมานมาก เป็นต้น ส่วนรายละเอียดศึกษาดูได้เพิ่มเติมในมินิซีรีส์ของวิบากกรรมบิดเบือนนะ
ส่วนพวกหลัง จะมีวิบากกรรมน้อยลงมาหน่อยหนึ่ง คือ แทนที่จะไป
มหานรกขุม ๔ ก็ไปแค่ยมโลก ของมหานรกขุม ๔ จะถูกเจ้าหน้าที่ลงทัณฑ์ทรมาน คล้าย ๆ กับพวกแรกที่อยู่ในมหานรกขุม ๔ แต่ว่าเบาบางกว่ากันในกรณีที่พระทำผิดจริง ๆ สิ่งที่ควรทำ คือ ไม่เสนอข่าวในสาธารณชนแต่ให้ทางคณะสงฆ์ ซึ่งมีสายการปกครองโดยกฎหมายและพระธรรมวินัยอยู่แล้ว ได้ดำเนินเรื่องแก้ไขกันไปตามความถูกผิดและเหมาะควร
เพราะการนำเสนอเรื่องพระสงฆ์นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่จะ
สั่นคลอนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ อีกทั้งศาสนาก็เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของประเทศ
การที่นักข่าวไปทำข่าวเหล่านี้เผยแพร่ออกไป จะได้รับวิบากกรรม
ตามกำลังแห่งเจตนา เช่น แม้เป็นจริง และเขียนไปตามความเป็นจริง ก็จะไปสั่นคลอนศรัทธาของพุทธศาสนิกชนส่วนรวม เพราะว่าพระที่บริสุทธิ์มีเยอะ แต่ความสั่นคลอนของพุทธศาสนิกชนทำพระพุทธศาสนาล่มสลายได้ทั้ง ๆ ที่พระส่วนใหญ่บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดเลย แต่พลอยมีส่วนไปด้วย
ผู้ที่ทำข่าวดังนี้ จะมีวิบากกรรมคือ ชาติต่อไปก็จะมีคนคอยจับผิด
แม้ผิดเล็กน้อยก็จะดูเหมือนมาก จะถูกตำหนิติเตียน และปัจจุบันใจ
จะเศร้าหมอง เห็นภาพตอนใกล้จะตาย เป็นกรรมนิมิต คตินิมิตจะมืดไปอบายได้
ส่วนที่ข่าวจริงมีนิดเดียว แต่ไปเขียนขยายความจนทำให้เกิดการ
เสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น จะมีวิบากมากกว่านี้ รายละเอียดไปศึกษาในมินิซีรีส์ของมหานรกขุม ๔
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
--------------------------------
เรารักพระพุทธศาสนา
การโจมตีว่าร้าย โดยเริ่มต้นที่หลวงพ่อก่อน ว่าร้ายวัดพระธรรมกาย
ยังไม่มีปัญหา แต่ไปกระทบสังฆมณฑล ทำให้ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคลอนแคลน มีหลายวัดจำนวนมากได้มาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เดี๋ยวนี้พระเณรจะอดตายกันแล้ว ญาติโยมไม่ค่อยจะใส่บาตรตักบาตรกัน เพราะว่าสับสนกับสื่อที่ออกไปอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ใครไปตักเตือนสื่อได้ ก็ให้ไปตักเตือนกัน จะด้วย
วิธีการใดก็ไปบอกเขาว่า อย่าไปทำ มันเป็นบาปกรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี
พลอยทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย เอาเฉพาะหลวงพ่อธัมมชโยเดือดร้อนรูปเดียวก็พอแล้ว อย่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนากันนะ แล้วก็วิชชาธรรมกาย ซึ่ง
เป็นวิชชาหรือเป็นวิธีการที่จะให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว นี่เป็นเป้าหลักเป้าหมายที่จะสอนให้ทุกคนเข้าถึงวิชชาธรรมกาย ถึงพระธรรมกายในตัวเพราะถ้าเข้าถึงได้แล้ว จะมีความสุขมาก มีความเบิกบาน มีกำลังใจในการสร้างความดีเกิดขึ้นมากมาย จะเป็นคนดีในสังคม คนดีที่โลกต้องการจะทำให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้นช่วยกันปกป้องวิชชาธรรมกาย
ย้ำอีกที ความตั้งใจหลวงพ่อมีเพียงประการเดียว คือมุ่งที่จะ
แนะนำสั่งสอนให้ชาวโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ถ้าเขาเข้าถึงแล้ว
เราจะมีความสุข มีปีติ ตัวเขาก็มีความสุข เราก็มีความสุข มีเพียง
แค่นี้เอง
ที่สร้างอะไรขึ้นมาใหญ่โตก็เพื่อรองรับมหาชนที่เขามากันมากมาย
มาศึกษาวิชชาธรรมกาย มาปฏิบัติธรรม ไม่ได้มาทำความชั่วเลย ทำเพื่อการนี้เท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออยากเด่นอยากดัง อยากเป็นใหญ่เป็นโต เป็นศูนย์อำนาจ ไม่เคยคิดเรื่องกะโหลกกะลาเหล่านี้ ไม่ได้สนใจเลย ถ้าสนใจสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มาบวช บวชมาก็มุ่งอย่างนี้อย่างเดียว เพราะฉะนั้นไปบอกกันนะ ใครเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็ให้เขาเข้าใจให้ถูกต้อง
ปัจจุบันนี้หลวงพ่อไม่ได้อดทนอะไรเลย ไม่ได้มีความรู้สึกอะไร
เพราะเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการให้มันเป็นไปยังไง เราเข้าใจเขาเสียแล้วใจเราก็สบาย มีปีติเบิกบานในคุณงามความดีที่ทำกันผ่านมา และที่กำลังจะทำกันต่อไป ไม่ว่าจะบีบบังคับหลวงพ่อไปอยู่ตรงไหน หลวงพ่อก็ยังต้องทำความดีต่อไป เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่จะต้องช่วยตัวเองให้พ้นจากบ่าวจากทาสของพญามาร
คู่ต่อสู้ของหลวงพ่อก็คือ เวลากับพญามารเท่านั้น เพราะ
หลวงพ่อต้องแข่งกับเวลา ต้องเอาชนะพญามารในตัว คือกิเลส
ในใจยังมีอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ต่อสู้กันอยู่ทุกวันเลย
ไม่ได้คิดไปสู้ใคร
เพราะฉะนั้น จะไปว่าร้ายใคร หลวงพ่อก็ทำไม่เป็น ไม่ได้ถูกฝึกฝน
มาอย่างนั้น ใจมันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น จะไปจ้วงจาบใคร จะไปว่าร้ายใครมันทำไม่เป็น พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนว่า อนูปวาโท ไม่ว่าร้ายใคร ก็ทำมาตลอด ทำไปตามประสาอย่างนั้นแหละ
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
--------------------------------
เราตายได้
แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้
การที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้
ก็เพื่อตัวเราและชาวโลก
ไม่ได้แข่งกับใคร
คำสอนในพระพุทธศาสนามีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
ของทุกคนเป็นอย่างมาก แม้วันนี้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายยังไม่เข้าใจ เขายังไม่มีเวลามาศึกษา ก็ไม่เป็นไร เรายังคงรักษาความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ สักวันหนึ่งเมื่อบุญเก่าได้ช่องส่งผล เขาจะเกิดความรู้สึกว่ามีบางสิ่งลึก ๆ กระตุ้นเตือนจิตสำนึกให้เขาอยากมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตขึ้นมา ตอนนั้นความรู้ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเขา
ความรู้ในพระพุทธศาสนา เป็นความรู้สากลที่ทุกคนจะต้องศึกษา
ต้องเรียนรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ไม่รู้อันตราย เพราะจะทำให้ดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องดังนั้นที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ก็เพื่อการนี้ ไม่ได้ไปแข่งกับใครเพราะคู่แข่งของเราคือเวลา เราต้องทำงานแข่งกับเวลา เนื่องจากเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้จำกัด แค่ประเดี๋ยวเดียว รวยก็รวยประเดี๋ยวเดียวจนก็จนประเดี๋ยวเดียว เป็นเจ้านายเป็นลูกน้องก็เป็นประเดี๋ยวเดียว มีลาภยศ สรรเสริญ มีอำนาจวาสนาก็แค่ประเดี๋ยวเดียว เป็นสามีภรรยากันก็ประเดี๋ยวเดียว ต่างคนต่างมา มาอยู่รวมกัน แล้วก็ต่างคนต่างไป พระพุทธศาสนาสอนให้เราเข้าใจตรงนี้ สอนให้เราปล่อยวาง แล้วก็ทำให้เรามีความรักต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้
ให้ยาวนานที่สุด เท่าที่จะนานได้ แต่งานนี้เป็นงานใหญ่ จะทำตามลำพังไม่ได้วัดใดวัดหนึ่งทำก็ไม่ได้ วัดทุกวัด พุทธบุตรทุกรูป พุทธบริษัท ๔ ทั้งหมดก็ต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกันจึงจะทำงานนี้ได้สำเร็จ
๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
-------------------------------
ใครบอกว่าวัดพระธรรมกาย
ไม่ทำสังคมสงเคราะห์?
ครูไม่ใหญ่ทำบุญทุกวันเลย สร้างพระธรรมกายประจำตัวทุกวัน
ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติธรรมทุกวันสร้างลานธรรมทุกวัน กฐินรายวันอีก แล้วก็บุญอะไรอีกตั้งหลายอย่างทำทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ เพราะเราก็อยากรวยรายวัน แล้วก็อยากรวยทุกวันรวยมาก็ไม่ใช่อะไรหรอก ก็จะนำมาสร้างบารมีต่อ
ชาตินี้ไม่ค่อยได้เห็นเงินเห็นทองกับเขาหรอก เห็นเฉพาะอยู่ข้างหน้า
แวบเดียว แล้วหายไปเลย แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์สาธารณกุศล ที่จะเป็นทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล
เป็นโรงเรียน ที่สอนให้รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ที่ไม่มี
โรงเรียนไหน ๆ ในโลกเขาสอนกัน
เป็นโรงพยาบาล รักษาไข้ใจ ที่เกิดจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งไม่มีโรงพยาบาลไหนเขารักษากัน
เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่ร่วมบุญกันมาไม่เสียเปล่านะลูกนะ
รวยก็เพื่อเอามาทำอย่างนี้แหละ หรือที่ชวนให้ลูก ๆ ทั้งหลายมารวย
ก็เพื่อการนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราสร้างเป็นทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล ให้ความ
รู้ทางใจ เป็นวิชชาชีวิต และรักษาไข้ใจ ส่วนโรงเรียนโรงพยาบาลทางโลกก็เป็นวิชาชีพ กับรักษาไข้กายมีคนเขาทำกันเยอะแล้ว
ดังนั้น ที่มีคำถามมาว่า วัดพระธรรมกายทำไมไม่ไปช่วยสร้างตรงนั้น
ตรงนี้ ก็คนอื่นเขาสร้างกันอยู่แล้ว แต่ตรงนี้ไม่ค่อยมีใครสร้าง แล้วก็ไม่ค่อยมีใครสอนรักษาไข้ใจอย่างนี้
แต่วัดวาอารามนี่แหละ ได้ช่วยทำสิ่งนี้ขึ้นมา ตรงนี้คนมองไม่ค่อย
จะเห็นกัน บอกว่าไปทำสังคมสงเคราะห์ดีกว่า นี่ก็เป็นสงเคราะห์สังคม
เหมือนกัน สงเคราะห์สังคมตามพุทธวิธี ตามแบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบบท่านผู้รู้ แต่นั่นก็สงเคราะห์แบบผู้ความรู้ยังไม่สมบูรณ์ คือมีความรู้บ้าง เพราะฉะนั้นที่ยังไม่เข้าใจก็พึงเข้าใจเสีย
๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘
0
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวัดพระธรรมกาย
(คำสอนคุณครูไม่ใหญ่2)
เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
เรื่องพระศาสนาให้เอาอุเบกขาวาง
ต้องจำวาทธรรมนี้เอาไว้ให้ดี เราจะได้ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา
เอาไว้ให้เป็นที่พึ่งต่อชาวโลก ลูกหลาน เหลน โหลนของเรา เหมือนอย่างที่บรรพบุรุษของเราได้รักษาสืบทอดกันมาเพื่อตัวเรานี่แหละ
บรรพบุรุษของเรา ท่านปกป้องผองภัยพระพุทธศาสนาด้วยชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม ซึ่งก็มีวิธีปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยชีวิตที่แตกต่างกัน
ที่เป็นคฤหัสถ์ก็เอาชีวิตเป็นเดิมพันเลย
ที่เป็นบรรพชิตก็เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
คือ ตายในผ้าเหลือง เพราะถือว่า การตายในผ้าเหลืองนี้ เป็น
เกียรติยศอันสูงสุดของพระภิกษุ สามเณร เหมือนทหารที่เข้าสู่สมรภูมิ
ตายในสมรภูมิ กลับมาก็จะได้รับการอัญเชิญมาอย่างสมเกียรติ มีธงชาติคลุมร่างกาย มีเกียรติ มีคุณค่า ได้รับการยกย่องเทิดทูนไปทั้งประเทศ
นักรบกองทัพธรรมก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกำลังรบหลัก คือ ภิกษุ
สามเณร ก็จะต้องตายในผ้าเหลือง ความคิดว่าจะสึก อย่าให้มีอยู่ในใจ
จะต้องคิดอย่างเดียวว่า
ทำอย่างไร...เราจะทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทำอย่างไร...เราจะเป็นเนื้อนาบุญ
ทำอย่างไร...เราจะเป็นอายุพระศาสนา
ทำอย่างไร...เราจะให้ความกระจ่าง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวความ
เป็นจริงของชีวิตให้ชาวโลกทั้งหลายได้รู้แจ้งเห็นจริง จะได้ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีสุคติโลกสวรรค์และนิพพานเป็นที่ไป นี่ก็เป็นสิ่งที่พุทธบุตรทุก ๆ ท่านจะต้องนึกคิดอย่างนี้
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
---------------------------------
อย่าวางเงียบ ! ถ้ารักสงบตอนนี้
ต่อไปจะไม่สงบ
ชาวพุทธนี่แปลก
เวลามีเรื่องราวอะไรมากระทบถึงพระศาสนา
มักจะอยู่กันเฉย ๆ วางอุเบกขา
แล้วก็ชอบมาลุยกันเอง ถนัดนักลุยกันเอง
แต่ความจริงแล้ว ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา
ถ้าเป็นเรื่องพระศาสนา ให้เอาอุเบกขาวาง
แล้วลุยกันเลยตามหลักวิชชา
ลุยในที่นี้ ไม่ใช่เอาไม้ไปตีหัวเขานะ
แต่หมายถึง ให้รวมพลังสร้างความดี และอะไรที่เขาเข้าใจไม่ถูกต้อง
เราก็ต้องชี้แจง อย่าให้เขาคิดเอง เพราะถ้าให้เขาคิดเอง เขาก็คิดอย่างนั้นพูดอย่างนั้น แล้วมันก็กระทบ แล้วจะกระเทือนไปทั่วสังฆมณฑลไปหมด
ดังนั้น ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว วางอุเบกขาได้
แต่ถ้าเรื่องพระศาสนา ต้องเอาอุเบกขาวาง
แล้วรวมตัวไปชี้แจงด้วยเหตุผล เป็นต้น
ต้องตื่นตัว ไม่ใช่วางเงียบกัน
ถ้ารักสงบตอนนี้ ต่อไปมันจะไม่สงบ !
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
-------------------------------
วัดพระธรรมกาย..ไม่ใช่นิกายใหม่
“วาทกรรม” คือ ถ้อยคำที่พูดซ้ำ?ๆ บ่อย ๆ
ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม จริงหรือโกหกก็ตาม
พูดบ่อย ๆ จนคนเชื่อว่า เป็นความจริง
ครูไม่ใหญ่เจอวาทกรรมเรื่อยเลย สมัยก่อนตอนสร้างวัดใหม่ ๆ มีคน
ไปให้ข้อมูลสื่อ แล้วก็คุยต่อ ๆ กันว่า ใต้ถุนโบสถ์มีอาวุธ ตอนแรกก็เหมือนพูดเล่นสนุก ๆ แต่พอกระทุ้งกันไปเรื่อย ๆ ก็มีคนเชื่อนะ
ในยุคนั้น ใครมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี จะต้องแวะเวียน
มาเยี่ยมวัดพระธรรมกาย โดยมีวัตถุประสงค์จะไปดูใต้ถุนโบสถ์ ต้องมุดลงไปดู ลำบากทีเดียว ปรากฏว่าไม่มีอาวุธ พอหมดวาระ คนใหม่มารับตำแหน่ง ก็มาดูอีกแล้ว หรือท่านนายอำเภอคลองหลวงก็มาเยี่ยมเยียนใต้ถุนโบสถ์ รู้สึกว่าที่นั่นเป็นที่รับแขกอย่างดี
หมดยุคนั้น ก็มายุคคอมมิวนิสต์ เขาก็แต่งตั้งให้เป็นคอมมิวนิสต์
อีกแล้ว
ต่อมาว่า วัดพระธรรมกายเป็นนิกายใหม่ ตอกย้ำซ้ำเดิมไปเรื่อย ๆ
เป็นนิกายใหม่ ๆ เพราะสอนเรื่องธรรมกาย คือ มีมหานิกาย และ ธรรมยุติก-นิกายแล้วมี ธรรมกาย แถมวัดชื่อวัดพระธรรมกาย มีคำ ว่า “กาย” อยู่ข้างหลัง เพราะฉะนั้นต้องเป็นนิกายใหม่
ตอนแรกใหม่ ๆ ครูไม่ใหญ่ขำนะ ตอนหลัง เอ๊ะ ! นี่เล่นเอาจริง
แล้วนะ ไม่ว่าเราจะยืนยันซ้ำไปแค่ไหน แต่เรายืนยันวาทกรรมน้อย
กว่าเขา เขากระทุ้งกันเรื่อย ๆ เลย
ก็ได้ยืนยันเป็นช่วง ๆ นาน ๆ สักครั้งหนึ่งว่า พระเดชพระคุณหลวงปู่
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านอยู่ในมหานิกาย นิกายดั้งเดิม ซึ่งแต่เดิมมีนิกายเดียว แล้วมาเปลี่ยนตอนไหน ที่มาแยกเป็น ๒ นิกาย อันนี้ครูไม่ใหญ่ไม่มีความรู้ ก็ไปแสวงหาความรู้เอา
แล้วต่อมา ครูไม่ใหญ่ก็บวชที่วัดปากน้ำ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ท่าน
ก็มหานิกาย พ่อเป็นมหานิกาย ลูกก็มหานิกาย มันจะนิกายใหม่ตรงไหนยังนึกไม่ออก แต่เชื่อไหมวาทกรรมนี้คนเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น วัดพระธรรมกาย ไม่ใช่นิกายใหม่
แต่เป็นพุทธเถรวาท มหานิกาย
แล้วจริง ๆ ไม่อยากให้แยกนิกาย
อยากให้รวมกันแล้วไปศึกษาค้นคว้าความรู้ดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างแท้จริง
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
-------------------------------
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
พระทุกวัดจะต้องรักกัน อย่าแบ่งแยกกัน เป็นวัดนั้น วัดนี้ นิกายนั้น
นิกายนี้ เราได้ทดลองทำ อย่างนั้นมาแล้ว ลองแยกนิกายแล้ว นึกว่ามันจะดีปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันนี้มันไม่ดี มีปัญหากันเรื่อยมา
หมดเวลาที่จะแบ่งแยกแล้ว ถึงเวลาแล้วที่พระต้องรวมเป็นหนึ่ง
คิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน คิดถูก พูดถูก ทำถูก
ไปพร้อม ๆ กันเหมือนในสมัยพุทธกาล
ถ้ารวมกันเป็นหนึ่งเป็นนิกายเดียว “พุทธนิกาย” ไม่มีนิกายนั้น
นิกายนี้ แล้วมีความรักสมัครสมานสามัคคีกัน มุ่งทำพระนิพพานให้แจ้งดังวาทธรรมที่ว่า
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
ดวงตะวันไม่มีข้างแรม ไม่มีแหว่ง ไม่มีเว้า เหมือนพระจันทร์
มีอยู่ดวงเดียวทำหน้าที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลก พุทธบุตรเช่นเดียวกัน
ต้องรวมกันเป็นหนึ่ง เพราะเป็นผู้ให้แสงสว่างส่องทางชีวิตให้ชาวโลก
เหมือนดวงตะวันอย่างนั้น
ถ้าต่างคนต่างทำ แล้วไม่รักกัน มันก็ไม่มีพลัง ไม่มีประโยชน์ เพราะ
ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องรวมกัน แล้วไปศึกษาคำสอนดั้งเดิมของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนอย่างไร มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรจะได้ทำเหมือน ๆ กัน จะได้คิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ทำเหมือนกันอย่างนี้ถึงจะถูกหลักวิชชา
พูดตอกย้ำซ้ำเดิมไปเรื่อย ๆ จนกว่าพุทธบริษัท ๔ จะเข้าใจ และ
รวมกันเป็นหนึ่ง ให้เหมือนสมัยพุทธกาล
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
--------------------------------
วิชชาธรรมกาย
คำว่า “วิชชาธรรมกาย” ประกอบด้วย ๒ คำ คือ คำว่า “วิชชา”
กับคำว่า “ธรรมกาย”
คำว่า “วิชชา” แตกต่างจากคำว่า “วิชา” ในทางโลกที่เราได้เคย
ศึกษาเล่าเรียนกัน
วิชาทางโลกนั้นเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใน ๒ ระดับ คือ
ระดับสุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา คือ ความรอบรู้ที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน
ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นการรู้จำ คือ จำในสิ่งที่ผู้รู้ ไม่ว่าจะมีความรู้
สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม ได้บันทึกเรื่องราวสิ่งที่รู้เห็นเอาไว้เป็น
วิทยาทานให้ได้ศึกษากันสืบต่อมา
จินตามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการนำมาคิดพิจารณา
หาเหตุผลแบบนักคิดทั่วไป ความคิดบางครั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง
นี่เป็นปัญญาใน ๒ ระดับ แต่ปัญญาในพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับ
ระดับที่ ๓ คือ ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝน
ลงมือปฏิบัติแล้ว ในระดับที่อยู่นอกเหนือเหตุผลธรรมดา เราจะอาศัย
เหตุผลธรรมดามาใช้ไม่ได้เลย เพราะภาวนามยปัญญาเป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง คือ จิตต้องเกิดดวงสว่างขึ้นมา และความสว่างนั้นนำไปสู่จักษุธรรมจักษุเกิดขึ้น หรือญาณทัสนะเกิดขึ้น สว่างแล้วจึงเห็น เห็นแล้วจึงรู้
เพราะฉะนั้น “วิชชา” จึงหมายถึง ความรู้แจ้งที่เกิดจากการ
เห็นแจ้ง ความเห็นที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายแล้ว เกิด
ปัญญาบริสุทธิ์ รู้เห็นไปตามความเป็นจริง รู้ทั่วถึง รู้พร้อม แล้วก็รู้ไปสู่
เป้าหมาย เหมือนของที่อยู่ในที่มืดดึงมาอยู่กลางแจ้งเราก็จะเห็นชัดเจนเช่น เชือกเปียกน้ำ ถ้าอยู่ในที่มืด ๆ บางทีเราอาจจะคิดว่าเป็นงู หรือเป็นตัวอะไรที่มันยาว ๆ หรืออาจจะเป็นเชือก ต้องใช้สมมติฐานด้นเดาถูกบ้างผิดบ้าง แต่ว่าเมื่อลากมาอยู่กลางแจ้ง ก็รู้ชัดว่านี่แค่เชือกเปียกน้ำเท่านั้น
คำว่า “ธรรมกาย” ในพจนานุกรม แปลว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
เขาแปลได้แค่นั้น คือ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมกัน
เรียกว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
มีนักศึกษาชาวตะวันตกสองสามีภรรยาเขาได้ค้นคว้ารวบรวม
ความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกได้ ๕๐ กว่าความหมายมีความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ เขาบอกว่า ธรรม มีลักษณะเป็นดวงกลม ๆใส ๆ สว่าง ๆ และมีตัวตน เพราะฉะนั้น “ธรรมกาย” คือ กายที่ประกอบไปด้วยธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมเกิดเป็นก้อนกายเป็นกายที่มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ
เพราะฉะนั้น “วิชชาธรรมกาย” ก็คือความรู้แจ้งที่เกิดจากการ
เห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุ แล้วก็รู้ได้ด้วยญาณทัสนะของธรรมกายนั่นเอง
นี่เป็นเรื่องสำคัญ
วิชชาธรรมกายเกิดขึ้นได้ด้วยธรรมกาย เป็นที่ประชุมรวมอยู่ตรงนั้น
มีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน มีมาดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โน้น
เริ่มต้นเมื่อไร ไม่มีใครทราบ
การที่เราเคารพกราบไหว้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ
พระองค์ทรงบรรลุวิชชาธรรมกายก่อน แล้วได้ทรงนำมาเปิดเผยกระทั่งมีผู้รู้แจ้งตามพระองค์ เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมมากมาย แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี ความรู้ยิ่งนี้ก็หายไปคงเหลือไว้แต่ชื่อ คือ คำว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนาในนิกายต่าง ๆ ทั้งวัชรยาน มหายาน และเถรวาท แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าธรรมกายนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เข้าถึงได้อย่างไร
จนกระทั่งเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้
สละชีวิตปฏิบัติธรรมกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียงจังหวัดนนทบุรี ความลับนี้จึงได้เปิดเผยออกมาสู่ชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านบวชเมื่ออายุ ๒๒ ปี บวชได้
หนึ่งวัน รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็ปฏิบัติธรรมแล้วก็ศึกษาทางด้านปริยัติ ศึกษาหมดทุกสำนัก แต่ไม่ได้สอบเป็นมหาเปรียญ รู้ว่าสำนักไหนมีครูดี ชำนาญในพระไตรปิฎก ท่านก็จะไปศึกษาทุกหนทุกแห่ง ทั้งศึกษาด้วยตัวเองด้วยจากครูบาอาจารย์ตามสำนักต่าง ๆ ด้วย
แล้วในที่สุดท่านก็สรุปว่า ความรู้จะสมบูรณ์ได้จะต้องประกอบไป
ด้วย ๓ ป. คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติก็คือการศึกษาด้านทฤษฎีต้องอ่าน ต้องศึกษา ท่านอ่านหมดในพระไตรปิฎก แล้วก็ปฏิบัติด้วยตนเองเรื่อยมา ไม่ว่างเว้นในการปฏิบัติเลยแม้แต่วันเดียว รู้ข่าวคราวว่า ครูไหนสำนักไหนมีการปฏิบัติ ก็ยอมตนเข้าไปเป็นศิษย์ไปศึกษา ได้เข้าถึงที่สุดแห่งความรู้ของครูบาอาจารย์ ซึ่งได้แค่ดวงสว่างปรากฏอยู่ แล้วครูก็ชวนท่านช่วยกันสั่งสอนศิษย์เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ของท่าน
แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ มีความคิดว่า ความรู้แค่นี้
เหมือนหางอึ่งนิดเดียว จะไปเป็นครูเขาได้อย่างไร ท่านจึงกราบลามาด้วยความเคารพ แล้วก็ไปศึกษาวิธีการต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรค ๔๐ วิธีก็ศึกษากันมาทั่วหมดทุกสำนัก
แต่ก็ยังไม่จุใจ เพราะท่านมีความรู้สึกว่า ยังไม่ถึงจุดของความรู้ตาม
ที่ได้ศึกษาภาคปริยัติมา ในที่สุดหลังจากที่ศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตามสำนักต่าง ๆ มาจนย่างเข้าพรรษาที่ ๑๒ ของการบวช ในกลางพรรษาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า
“วันนี้เป็นไงเป็นกัน ถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ จะไม่ลุกจากที่ จะนั่งปล่อยชีวิตอย่างนี้เรื่อยไป
แม้เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่รู้
ไม่เห็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ตายเถอะ”
นี่เป็นความอัศจรรย์ของภิกษุหนุ่มวัย ๓๓ ปี ซึ่งยังไม่ได้รู้เรื่องราว
อะไรเลยเกี่ยวกับหนทางไปนิพพาน ได้ศึกษาแต่พระปริยัติ
แล้วในที่สุดวันนั้น ตามประวัติที่ท่านบันทึกเอาไว้ ท่านได้ทำความ
เพียรที่วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ปัจจุบันนี้ในโบสถ์นั้นก็ยังมีพระพุทธรูป
องค์ดั้งเดิมอยู่ ที่นั่งก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ราบเรียบ ท่านก็เลือกเอามุมหนึ่ง
เป็นสถานที่นั่งสมาธิ ตัดสินใจยอมสละแม้ชีวิต เอานิ้วจุ่มน้ำมันก๊าดเพื่อจะขีดวงกันมดที่ไต่ตามช่องแตกของพื้นหินไม่ให้มารบกวน แต่ขีดไปได้ครึ่งหนึ่งท่านก็นึกละอายใจว่า สละชีวิตแล้วยังมากลัวมดอีก จึงตัดสินใจหลับตาปล่อยชีวิตไปเลย
ท่านบอกว่า ค่อนคืนทีเดียวจึงได้บรรลุถึงธรรมกาย บรรลุถึง
ธรรมกาย แล้วท่านก็บอก โอ! มันยากอย่างนี้นี่เอง มันต้องดับก่อนแล้วจึงเกิด คือ ใจต้องหยุดต้องนิ่งเสียก่อน ถูกส่วนถึงจะเห็นไปตามลำดับ เห็นไปได้ ๕ กายจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าก็รู้ว่านี่แหละ คือ กายธรรม เป็นกายตรัสรู้ธรรมอยู่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ท่านตรวจตราทบทวนดูอย่างดีทีเดียว จนกระทั่งมั่นใจว่า นี่ถูกทาง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ทบทวนทำความเพียรไปทั้งคืน
จนกระทั่งติดอยู่ในกลางท่าน แล้วต่อมาท่านก็เห็นในญาณทัสนะว่า จะมีผู้บรรลุธรรมกายตามท่านอยู่ที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ภายในพรรษานั้น ท่านก็ทบทวนแล้วก็ศึกษาวิชชาธรรมกายด้วย
ธรรมกายภายในกลางกายเรื่อยไป ในที่สุดออกพรรษาแล้วก็ได้ไปที่วัดบางปลา มีผู้บรรลุธรรมตามท่าน เป็นพระภิกษุ ๓ รูป ฆราวาส ๔ ท่าน ตรงตามที่ท่านได้เห็นในญาณทัสนะ แล้วก็เริ่มเผยแผ่ธรรมเรื่อยมาจนกระทั่งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เพราะฉะนั้น การที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ค้นพบ “วิชชา
ธรรมกาย” ทำให้พวกเราทั้งหลายรู้จัก “ธรรมกาย” ว่ามีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด และเป็นเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่ต่างเกิดมาก็เพื่อแสวงหาธรรมกาย พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีพระคุณต่อชาวโลกและเป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
----------------------------
วัดพระธรรมกาย..
พุทธดั้งเดิม ไม่ใช่นิกายใหม่
ในสมัยพุทธกาลไม่มีนิกายนะ
มีแต่ "ธรรมกาย"
เพราะสมัยนั้นเขาปฏิบัติ
จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายกันเป็นเรื่องปกติ
แค่ได้ยินได้ฟังธรรมก็บรรลุธรรมาภิสมัย
บรรลุธรรมกันแล้ว
แต่ต่อมาก็ย่อหย่อนในการปฏิบัติ ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ
ธรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษาอะไรเหล่านี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำสอนก็เลยเลอะเลือนเลือนรางไป มีแต่คำว่า ธรรมกาย ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาซึ่งกระจัดกระจายไปตามนิกายต่าง ๆ
แล้วก็มีนักคิดเกิดขึ้น ก็คิดกันไปตามเรื่องตามราวเท่าที่ตัวเองจะ
เข้าใจ โดยใช้จินตามยปัญญา มีบางพวกเจริญภาวนาเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไปไม่ถึงจุดตรงนั้น เพราะฉะนั้นความเห็นจึงแตกต่างกันไป นิกายก็เลยเกิดขึ้น
ในภายหลัง
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่บังเกิดขึ้น แล้วก็ได้มีการค้นพบวิชชา
ธรรมกายเกิดขึ้นมา เราจึงปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่ว่าผู้ที่มาภายหลังนั้นไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไม่ได้ปฏิบัติ หรือได้ปฏิบัติแต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่าธรรมกายคือนิกายใหม่ เพราะมีคำว่า "กาย"
เพราะฉะนั้น ดั้งเดิมมีแต่ธรรมกาย ไม่มีนิกายอะไรต่าง ๆ นิกายเพิ่ง
มาเปลี่ยนแปลงภายหลัง และมาเหมาเข้าใจว่า ธรรมกายคือนิกายใหม่ไม่ใช่นิกายใหม่ และก็ไม่ใช่นิกายเก่า แต่ว่าเป็นของดั้งเดิมในสมัยพุทธกาลในยุคที่ไม่มีนิกาย มีแต่ ธรรมกาย และเพิ่งมาเป็น ธรรมกลาย ในภายหลังมี ล ลิง เพิ่มเติมขึ้นมาอีก คือ กลายไปเป็นโน่นเป็นนี่อะไรต่าง ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นหนี้พระคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่มาก
นอกจากการปฏิบัติบูชาหรืออามิสบูชาแล้ว ก็คิดที่จะตอบแทนพระคุณท่าน จึงได้สร้างรูปหล่อทองคำ รูปเหมือนท่านขึ้นมา แล้วก็ชักชวนผู้มีบุญทั้งหลายมาหล่อรูปบุคคลสำคัญของโลกและจักรวาล ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต และมีความมั่นใจว่า พระพุทธเจ้ามีจริงพระธรรม พระสงฆ์มีจริง ๆ
เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยจะเข้าใจกันนะ ยิ่งเรียนทางโลกมาก ๆ ยิ่งไม่ค่อย
จะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริง เขาบอกว่า พระไตรปิฎกนี่ผู้เขียนต้องเป็น
นักคิดที่ยิ่งใหญ่ โอ ! ถ้าใครคิดได้ขนาดนี้ โดยไม่ได้ค้น ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึงกะโหลกจะบาน สติจะเฟื่องเสียก่อน
เพราะฉะนั้น ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ได้เกิดจากความคิด
แต่เกิดจากการเห็นแจ้ง แล้วจึงรู้แจ้งแทงตลอด แล้วนำมาบันทึกถ่ายทอดกันมา ให้มวลมนุษยชาติได้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พอดำเนินชีวิตถูกต้องก็ปิดประตูอบาย แล้วก็เปิดประตูสวรรค์กัน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ
๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
----------------------------
วอนสื่อมวลชน
ได้โปรดอย่าทำลายหัวใจชาวพุทธ
นักข่าวมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว อันนี้ถูก
แต่ต้อง “พอดี” ต้องอย่าเหลิงเจิ้งเรื่อยเปื่อย
จนกระทั่งเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
กับบุคคลที่พาดพิงถึง หรือกับสังคม
พอดี ดูตรงไหน
ดูว่า มันเหมาะ มันควรไหม ถ้าเหมาะควรก็ทำไปเลย
ถ้าเรื่องจริง มีประโยชน์...เขียนไป
เรื่องจริง แต่ไม่เกิดประโยชน์...ไม่เขียน
เรื่องจริง มีโทษ...ไม่เขียน
ถ้ายิ่งเรื่องไม่จริง...ยิ่งไม่ควรเขียน
ดูว่าอะไรถูกผิด อาจดูได้ไม่ยาก แต่เหมาะควร เราจะเอาอะไรมา
เป็นเกณฑ์ พระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า
สิ่งไรที่เราคิด พูด หรือทำ น้อมไปในทางกุศลธรรม คือยังกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เจริญยิ่งขึ้น อย่างนี้เรียกว่าเหมาะควร
แต่สิ่งไรตรงกันข้ามกัน น้อมไปทางอกุศลธรรม ทำให้เกิดเป็นภาพ
ลบติดในใจ เกิดปัญหาสังคม เกิดความทุกข์ หรือเกิดวิบากกรรมอย่างนั้นไม่เหมาะไม่ควร
เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่น้อมไปทางกุศลธรรม ยกระดับจิตใจให้สูงส่งขึ้น
สิ่งนั้นควรทำ
โดยเฉพาะเรื่องพระศาสนา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะ
ทุกชีวิตที่เกิดมามีความทุกข์นะ ตั้งแต่ทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นทุกข์ประจำ กับทุกข์ที่จรมาอีกมากมาย ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาอะไรไม่ได้สิ่งนั้นก็ทุกข์ หรือพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์จากการเสื่อมลาภเสื่อมยศ มีคนนินทา มีทุกข์กายทุกข์ใจอะไรอีกสารพัด เยอะแยะไปหมด
เมื่อชีวิตมนุษย์มีทุกข์ เขาย่อมหาที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ศาสนาหรือ
คำสอนจากพระศาสดาของทุก ๆ ศาสนานั่นแหละจะเป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมวลมนุษยชาติ เพราะฉะนั้นพระศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่ควรแตะอย่างยิ่ง เพราะเป็นหนึ่งในสถาบันหลัก และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจดังกล่าวและในความเป็นจริงแล้ว เขาก็มีการปกครองไปตามลำดับ
พระอาจารย์รูปหนึ่ง เป็นพระพม่าที่อยู่เกาหลี ท่านเล่าให้ฟังว่า ที่
ประเทศพม่า มีการห้ามออกสื่อที่เป็นการตำหนิพระรัตนตรัยอย่างเข้มงวดหรือแม้แต่ในประเทศเกาหลีเองก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กระผมติดตามข่าวสารที่นี่มาตลอด พบว่าเรื่องที่จะมีการออกสื่อในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตี ดูถูก เหยียดหยาม เหยียบย่ำพระพุทธศาสนาให้ตกต่ำ จะไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลี
แถมยังมีกฎหมายคุ้มครอง โดยไม่ให้ออกสื่อใด ๆ เพื่อมุ่งทำลาย
ศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ห้ามตำหนิ ใส่ร้าย ป้ายสี จ้วงจาบ โจมตีพระและพระพุทธศาสนา แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้น คณะสงฆ์ก็จะจัดการกันเองในส่วนที่เกี่ยวข้องที่ปกครองกันมาตามลำดับ แต่ไม่ใช่นำมาขยายเพื่อให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา
แล้วยังมีผู้ดูแลกฎหมายศาสนาของภาครัฐคอยเช็คและดูแลสื่อ
เพราะไม่อนุญาตให้ออกข่าวใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งทำลาย หรือ
ทำร้าย หรือว่าร้ายพระพุทธศาสนา เพราะถือว่าข่าวศาสนาจะส่งผลต่อ
จิตใจของประชาชน
หรือแม้แต่เวลาที่ต่างศาสนาเข้ามาเผยแผ่ที่เกาหลี ก็ห้ามออกสื่อ
เขียนว่าร้ายพระพุทธศาสนาเช่นกัน ในทางตรงกันข้าม ที่เกาหลีจะมี
หนังสือพิมพ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ฉบับ จะลงข่าวดี ๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ การจัดงานบุญของวัดต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมหรือประสบการณ์ทางธรรมของพระรูปต่าง ๆ เพื่อยกระดับใจให้สูงขึ้นหรืออย่างน้อยก็ดับทุกข์ของชีวิตในใจของแต่ละคนได้ในแต่ละวัน
คือมีข่าวดีออกมารายวัน เพราะคนมีทุกข์รายวัน เพราะฉะนั้น
หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็มีรายวัน เขียนแนะวิธีการดับทุกข์ไม่ใช่เขียนแนะวิธีการสร้างทุกข์ หรือขยายทุกข์ ขยายความเครียดระบาดไปทั่วสังคมหมดเลย จนกระทั่งในใจของแต่ละคนถูกยัดเยียดด้วยข่าวที่ทำให้เร่าร้อน ตั้งแต่ตื่นกระทั่งหลับ วิพากษ์วิจารณ์กันไปตั้งแต่ในครอบครัว ออกมานอกบ้าน ไปโรงเรียน ไปที่ทำงาน ในทุกหนทุกแห่งความเครียดมันก็ระบาดไปทั่วสิ ไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย
ท่านยังกล่าวอีกว่า กระผมประหลาดใจ ตอนที่กระผมเคยอยู่เมืองไทย
ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ถือ
เป็นหัวใจของประเทศ แต่ทำไมถึงเห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ลงแต่เรื่องไม่ดีของพระ แล้วก็ขยายความมุ่งโจมตี จนคนเสื่อมศรัทธา ทำไมต้องทำลายหัวใจของเราเอง ตอนแรก กระผมอ่านก็งง ๆ ตอนหลัง ๆ ก็เลยไม่อยากจะสนใจอ่านอีก ก็งงอยู่ว่า จะทำลายพระก็ทำลายกันง่าย ๆแบบนี้เอง นี่ท่านว่าของท่านออกมาอย่างนี้นะ
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
--------------------------------
พุทธศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง
ของมวลมนุษยชาติ
เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ
ชีวิตมนุษย์มีทุกข์มากเกินพอแล้ว
ได้โปรด...อย่าทำลายศรัทธา
อย่าทำลายหัวใจชาวพุทธ
อย่าทำลายหัวใจของเราเอง
วิบากกรรมสื่อเสี้ยม บิดเบือน
ทำลายพระพุทธศาสนา
มีคำถามว่า ผู้ที่จงใจเสนอข่าวบิดเบือน เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธ
ศาสนา ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เป็นความจริง กับผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจบิดเบือนข่าวพระพุทธศาสนา แต่เพราะตนเองเข้าใจผิดจริง ๆ แต่ก็มีผลสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ทั้งสองประเภทนี้จะได้รับวิบากกรรมเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ทั้งสองประเภทนี้ จะได้รับวิบากต่างกัน คือ พวกแรกจะหนักกว่า
เพราะมีอกุศลเจตนาอย่างแรงกล้า ซึ่งก็จะมีวิบากกรรมให้ไปมหานรก
นี่แค่ตัวอย่างนะ จะถูกนายนิรยบาลจับบิดตัว ถลกหนังออก แล้ว
เอาปากกาเหล็กร้อนเขียนไปบนเนื้อ แล้วถูกทิ่มแทงด้วยอุปกรณ์การเขียนที่เป็นเหล็กร้อน หรือฝนตัวอักษรที่เคยบิดเบือนเอาไว้ เขียนไว้เป็นล้าน ๆคำตกใส่ เป็นตัวอักษรเหล็กร้อน ทุกข์ทรมานมาก เป็นต้น ส่วนรายละเอียดศึกษาดูได้เพิ่มเติมในมินิซีรีส์ของวิบากกรรมบิดเบือนนะ
ส่วนพวกหลัง จะมีวิบากกรรมน้อยลงมาหน่อยหนึ่ง คือ แทนที่จะไป
มหานรกขุม ๔ ก็ไปแค่ยมโลก ของมหานรกขุม ๔ จะถูกเจ้าหน้าที่ลงทัณฑ์ทรมาน คล้าย ๆ กับพวกแรกที่อยู่ในมหานรกขุม ๔ แต่ว่าเบาบางกว่ากันในกรณีที่พระทำผิดจริง ๆ สิ่งที่ควรทำ คือ ไม่เสนอข่าวในสาธารณชนแต่ให้ทางคณะสงฆ์ ซึ่งมีสายการปกครองโดยกฎหมายและพระธรรมวินัยอยู่แล้ว ได้ดำเนินเรื่องแก้ไขกันไปตามความถูกผิดและเหมาะควร
เพราะการนำเสนอเรื่องพระสงฆ์นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่จะ
สั่นคลอนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ อีกทั้งศาสนาก็เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของประเทศ
การที่นักข่าวไปทำข่าวเหล่านี้เผยแพร่ออกไป จะได้รับวิบากกรรม
ตามกำลังแห่งเจตนา เช่น แม้เป็นจริง และเขียนไปตามความเป็นจริง ก็จะไปสั่นคลอนศรัทธาของพุทธศาสนิกชนส่วนรวม เพราะว่าพระที่บริสุทธิ์มีเยอะ แต่ความสั่นคลอนของพุทธศาสนิกชนทำพระพุทธศาสนาล่มสลายได้ทั้ง ๆ ที่พระส่วนใหญ่บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดเลย แต่พลอยมีส่วนไปด้วย
ผู้ที่ทำข่าวดังนี้ จะมีวิบากกรรมคือ ชาติต่อไปก็จะมีคนคอยจับผิด
แม้ผิดเล็กน้อยก็จะดูเหมือนมาก จะถูกตำหนิติเตียน และปัจจุบันใจ
จะเศร้าหมอง เห็นภาพตอนใกล้จะตาย เป็นกรรมนิมิต คตินิมิตจะมืดไปอบายได้
ส่วนที่ข่าวจริงมีนิดเดียว แต่ไปเขียนขยายความจนทำให้เกิดการ
เสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น จะมีวิบากมากกว่านี้ รายละเอียดไปศึกษาในมินิซีรีส์ของมหานรกขุม ๔
๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
--------------------------------
เรารักพระพุทธศาสนา
การโจมตีว่าร้าย โดยเริ่มต้นที่หลวงพ่อก่อน ว่าร้ายวัดพระธรรมกาย
ยังไม่มีปัญหา แต่ไปกระทบสังฆมณฑล ทำให้ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคลอนแคลน มีหลายวัดจำนวนมากได้มาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เดี๋ยวนี้พระเณรจะอดตายกันแล้ว ญาติโยมไม่ค่อยจะใส่บาตรตักบาตรกัน เพราะว่าสับสนกับสื่อที่ออกไปอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ใครไปตักเตือนสื่อได้ ก็ให้ไปตักเตือนกัน จะด้วย
วิธีการใดก็ไปบอกเขาว่า อย่าไปทำ มันเป็นบาปกรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี
พลอยทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย เอาเฉพาะหลวงพ่อธัมมชโยเดือดร้อนรูปเดียวก็พอแล้ว อย่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนากันนะ แล้วก็วิชชาธรรมกาย ซึ่ง
เป็นวิชชาหรือเป็นวิธีการที่จะให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว นี่เป็นเป้าหลักเป้าหมายที่จะสอนให้ทุกคนเข้าถึงวิชชาธรรมกาย ถึงพระธรรมกายในตัวเพราะถ้าเข้าถึงได้แล้ว จะมีความสุขมาก มีความเบิกบาน มีกำลังใจในการสร้างความดีเกิดขึ้นมากมาย จะเป็นคนดีในสังคม คนดีที่โลกต้องการจะทำให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้นช่วยกันปกป้องวิชชาธรรมกาย
ย้ำอีกที ความตั้งใจหลวงพ่อมีเพียงประการเดียว คือมุ่งที่จะ
แนะนำสั่งสอนให้ชาวโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ถ้าเขาเข้าถึงแล้ว
เราจะมีความสุข มีปีติ ตัวเขาก็มีความสุข เราก็มีความสุข มีเพียง
แค่นี้เอง
ที่สร้างอะไรขึ้นมาใหญ่โตก็เพื่อรองรับมหาชนที่เขามากันมากมาย
มาศึกษาวิชชาธรรมกาย มาปฏิบัติธรรม ไม่ได้มาทำความชั่วเลย ทำเพื่อการนี้เท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออยากเด่นอยากดัง อยากเป็นใหญ่เป็นโต เป็นศูนย์อำนาจ ไม่เคยคิดเรื่องกะโหลกกะลาเหล่านี้ ไม่ได้สนใจเลย ถ้าสนใจสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มาบวช บวชมาก็มุ่งอย่างนี้อย่างเดียว เพราะฉะนั้นไปบอกกันนะ ใครเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็ให้เขาเข้าใจให้ถูกต้อง
ปัจจุบันนี้หลวงพ่อไม่ได้อดทนอะไรเลย ไม่ได้มีความรู้สึกอะไร
เพราะเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการให้มันเป็นไปยังไง เราเข้าใจเขาเสียแล้วใจเราก็สบาย มีปีติเบิกบานในคุณงามความดีที่ทำกันผ่านมา และที่กำลังจะทำกันต่อไป ไม่ว่าจะบีบบังคับหลวงพ่อไปอยู่ตรงไหน หลวงพ่อก็ยังต้องทำความดีต่อไป เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่จะต้องช่วยตัวเองให้พ้นจากบ่าวจากทาสของพญามาร
คู่ต่อสู้ของหลวงพ่อก็คือ เวลากับพญามารเท่านั้น เพราะ
หลวงพ่อต้องแข่งกับเวลา ต้องเอาชนะพญามารในตัว คือกิเลส
ในใจยังมีอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ต่อสู้กันอยู่ทุกวันเลย
ไม่ได้คิดไปสู้ใคร
เพราะฉะนั้น จะไปว่าร้ายใคร หลวงพ่อก็ทำไม่เป็น ไม่ได้ถูกฝึกฝน
มาอย่างนั้น ใจมันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น จะไปจ้วงจาบใคร จะไปว่าร้ายใครมันทำไม่เป็น พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนว่า อนูปวาโท ไม่ว่าร้ายใคร ก็ทำมาตลอด ทำไปตามประสาอย่างนั้นแหละ
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
--------------------------------
เราตายได้
แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้
การที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้
ก็เพื่อตัวเราและชาวโลก
ไม่ได้แข่งกับใคร
คำสอนในพระพุทธศาสนามีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
ของทุกคนเป็นอย่างมาก แม้วันนี้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายยังไม่เข้าใจ เขายังไม่มีเวลามาศึกษา ก็ไม่เป็นไร เรายังคงรักษาความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ สักวันหนึ่งเมื่อบุญเก่าได้ช่องส่งผล เขาจะเกิดความรู้สึกว่ามีบางสิ่งลึก ๆ กระตุ้นเตือนจิตสำนึกให้เขาอยากมาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตขึ้นมา ตอนนั้นความรู้ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเขา
ความรู้ในพระพุทธศาสนา เป็นความรู้สากลที่ทุกคนจะต้องศึกษา
ต้องเรียนรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ไม่รู้อันตราย เพราะจะทำให้ดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องดังนั้นที่เรารักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ก็เพื่อการนี้ ไม่ได้ไปแข่งกับใครเพราะคู่แข่งของเราคือเวลา เราต้องทำงานแข่งกับเวลา เนื่องจากเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้จำกัด แค่ประเดี๋ยวเดียว รวยก็รวยประเดี๋ยวเดียวจนก็จนประเดี๋ยวเดียว เป็นเจ้านายเป็นลูกน้องก็เป็นประเดี๋ยวเดียว มีลาภยศ สรรเสริญ มีอำนาจวาสนาก็แค่ประเดี๋ยวเดียว เป็นสามีภรรยากันก็ประเดี๋ยวเดียว ต่างคนต่างมา มาอยู่รวมกัน แล้วก็ต่างคนต่างไป พระพุทธศาสนาสอนให้เราเข้าใจตรงนี้ สอนให้เราปล่อยวาง แล้วก็ทำให้เรามีความรักต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้
ให้ยาวนานที่สุด เท่าที่จะนานได้ แต่งานนี้เป็นงานใหญ่ จะทำตามลำพังไม่ได้วัดใดวัดหนึ่งทำก็ไม่ได้ วัดทุกวัด พุทธบุตรทุกรูป พุทธบริษัท ๔ ทั้งหมดก็ต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกันจึงจะทำงานนี้ได้สำเร็จ
๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
-------------------------------
ใครบอกว่าวัดพระธรรมกาย
ไม่ทำสังคมสงเคราะห์?
ครูไม่ใหญ่ทำบุญทุกวันเลย สร้างพระธรรมกายประจำตัวทุกวัน
ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติธรรมทุกวันสร้างลานธรรมทุกวัน กฐินรายวันอีก แล้วก็บุญอะไรอีกตั้งหลายอย่างทำทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ เพราะเราก็อยากรวยรายวัน แล้วก็อยากรวยทุกวันรวยมาก็ไม่ใช่อะไรหรอก ก็จะนำมาสร้างบารมีต่อ
ชาตินี้ไม่ค่อยได้เห็นเงินเห็นทองกับเขาหรอก เห็นเฉพาะอยู่ข้างหน้า
แวบเดียว แล้วหายไปเลย แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์สาธารณกุศล ที่จะเป็นทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล
เป็นโรงเรียน ที่สอนให้รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ที่ไม่มี
โรงเรียนไหน ๆ ในโลกเขาสอนกัน
เป็นโรงพยาบาล รักษาไข้ใจ ที่เกิดจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งไม่มีโรงพยาบาลไหนเขารักษากัน
เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่ร่วมบุญกันมาไม่เสียเปล่านะลูกนะ
รวยก็เพื่อเอามาทำอย่างนี้แหละ หรือที่ชวนให้ลูก ๆ ทั้งหลายมารวย
ก็เพื่อการนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราสร้างเป็นทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล ให้ความ
รู้ทางใจ เป็นวิชชาชีวิต และรักษาไข้ใจ ส่วนโรงเรียนโรงพยาบาลทางโลกก็เป็นวิชาชีพ กับรักษาไข้กายมีคนเขาทำกันเยอะแล้ว
ดังนั้น ที่มีคำถามมาว่า วัดพระธรรมกายทำไมไม่ไปช่วยสร้างตรงนั้น
ตรงนี้ ก็คนอื่นเขาสร้างกันอยู่แล้ว แต่ตรงนี้ไม่ค่อยมีใครสร้าง แล้วก็ไม่ค่อยมีใครสอนรักษาไข้ใจอย่างนี้
แต่วัดวาอารามนี่แหละ ได้ช่วยทำสิ่งนี้ขึ้นมา ตรงนี้คนมองไม่ค่อย
จะเห็นกัน บอกว่าไปทำสังคมสงเคราะห์ดีกว่า นี่ก็เป็นสงเคราะห์สังคม
เหมือนกัน สงเคราะห์สังคมตามพุทธวิธี ตามแบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบบท่านผู้รู้ แต่นั่นก็สงเคราะห์แบบผู้ความรู้ยังไม่สมบูรณ์ คือมีความรู้บ้าง เพราะฉะนั้นที่ยังไม่เข้าใจก็พึงเข้าใจเสีย
๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘