๔ ส. สำเร็จ

จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย
จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น
เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ
สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ
นิ่งเบาๆ ต่อไปใจนิ่งนิ่ง
เดี๋ยวก็ปิ๊งใสแจ๋วจนร้องอ๋อ
เพิ่งเข้าใจ “สักแต่ว่า” วันนี้นอ
ช่วยบอกต่อ “สักแต่ว่า” ค่าล้ำจริง
ตะวันธรรม

๔ ส. สำเร็จ
ง่าย..แต่..ลึก 1



(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ............)
... หยุดแรก นี่จะยากสักนิด ก็ไม่ใช่ยากมาก ยากนิดหน่อย แต่
ก็ต้องอาศัยการฝึกฝน ทำความเพียรให้สมํ่าเสมอ ต้องมีสติกับสบาย
สมํ่าเสมอแล้วก็สังเกต ๔ ส. นี้ ต้องจำให้ดี

สติ ก็คือการดึงใจกลับมาอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ได้
ตลอดเวลาเลย ทำอย่าง สบาย ๆ คล้าย ๆ กับเรานึกถึงเรื่องราวที่
เราชอบ คือนึกแล้วมันไม่มึน ไม่ซึม ไม่ตึง ระบบประสาทกล้ามเนื้อ
ต้องไม่เกร็ง ไม่เครียด ต้องผ่อนคลาย แต่ที่ไม่สบายก็เพราะเรา
เอาลูกนัยน์ตากดลงไปดู เพราะเราคุ้นเคยและก็ชินว่าการที่จะมอง
ภายในนั้นต้องกดลูกนัยน์ตา ต้องเหลือบตาลงไป ถ้าเหลือบเฉย
ๆ มันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตั้งใจเกินไปมันก็จะแรง กดลงไปโดยที่
เราไม่ได้ตั้งใจ เราก็นึกว่าเรามองธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วเรากำลังกด
ลูกนัยน์ตา

สมํ่าเสมอ คือทำให้ได้ทุกวัน ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน
หรือว่าถ้ามันมากไปก็เอาแค่สองเวลา คือ หลับตากับลืมตา หรือ
หายใจเข้าหายใจออกก็ได้
สังเกต คือเวลาเลิกนั่งสมาธิแล้วให้หมั่นสังเกตว่า เราทำถูกหลัก
วิชชาไหม ถ้าไม่ถูกก็ปรับปรุงแก้ไข ถ้าถูกก็ทำให้เจริญขึ้น คล่องขึ้น ให้ชำนาญขึ้น สักวันหนึ่งก็จะเป็นวันสว่างของเรานะลูกนะ

การเห็นทางใจและการเห็นด้วยตาเนื้อ
การเห็นทางใจจะต่างจากการเห็นด้วยตาเนื้อ การเห็นด้วย
ตาเนื้อสำหรับคนที่มีดวงตาปกติ พอเราลืมตาเราจะเห็นได้ทันที
และของไกล ๆ มักจะเห็นชัดน้อยกว่าของใกล้ ๆ แต่การเห็นภาพ
ทางใจนั้นจะค่อย ๆ เห็น คือค่อย ๆ ชัด เพราะเรายังมีความมืดใน
ใจอยู่ เหมือนความมืดในยามราตรี ของอะไรอยู่ในที่มืดก็มองไม่ค่อย
เห็นจนกว่าเราจะทำนิ่ง ๆ ให้สายตาคุ้นกับความมืดก็พอจะคาดคะเน
ว่ามีอะไรบ้าง แต่ก็ยังเห็นได้ไม่ชัดเจนจนกว่าจะฟ้าสาง ๆ นั่นแหละ
จึงจะค่อย ๆ เห็น ภาพภายในจะคล้าย ๆ อย่างนั้น

จะมีมนุษย์พิเศษบางคนที่เขาสั่งสมบุญมามาก ฝึกมาข้ามชาติ
พอหลับตาเขาก็นึกภาพได้ชัดราวกับการเห็นภาพด้วยตาเนื้อถึง ๖๐
เปอร์เซ็นต์ก็มี ๗๐ , ๘๐ , ๙๐ เปอร์เซ็นต์ก็มี แต่ที่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
ยังไม่เคยเจอ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะค่อยเป็นค่อยไป

ซึ่งตรงนี้แหละ มันทำให้เราไม่คุ้น และมักจะขัดใจเราเสมอ เรา
มักจะฮึดฮัด เวลาเราอยากจะเห็นภาพภายในก็พยายามไปเค้นภาพ

มันก็ทำให้ระบบประสาทกล้ามเนื้อเกร็งและเครียด เขาก็อุทธรณ์ฟ้อง
เราว่ามันไม่ถูกวิธีแล้วแหละ ทนไม่ได้แล้ว ถ้าเราฝืนทำต่อไปมันก็ไม่
เกิดประโยชน์ เพราะมันผิดวิธี

เพราะฉะนั้น จะให้ใจหยุดได้ก็ต้องหลับตาพอสบาย ปรือ ๆ
ตานิด ๆ ไม่ถึงกับปิดสนิท แล้วก็ทำความรู้สึกว่าใจอยู่ในท้อง เรา
จะนึกเป็นภาพดวงแก้วใส ๆ หรือองค์พระใส ๆ ก็ได้ หรือองค์พระ
ที่เคยกราบไหว้บูชาองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือจะเป็นดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ ดวงดาว เพชรสักเม็ดหนึ่งอยู่ในตัว ค่อย ๆ นึกไป นึกได้
ก็เห็นได้ แต่ภาพที่เกิดจากการนึกมันไม่ชัดเจน เราก็ต้องใจเย็น ๆ
ไม่ต้องใช้ลูกนัยน์ตากดลงไปดู ลูกนัยน์ตาก็ยังวางอยู่ที่เดิม แต่เรา
นึกภาพทางใจไว้ภายใน เหมือนเรานึกภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ดวงดาวอยู่บนท้องฟ้า เรายังนึกภาพได้ โดยเราก็ไม่ต้องเหลือกตา
ขึ้นไปมองก็ยังนึกได้ว่าอยู่ข้างบนท้องฟ้า ทีนี้เราเปลี่ยนมาเป็นนึกใน
กลางท้องเรา เป็นดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ ทำสบาย ๆ

ถ้ามีความรู้สึกเกร็งตึง แสดงว่าไม่ถูกวิธีแล้ว
ต้องผ่อน แต่ที่สำคัญคือเปลือกตาอย่าเม้มสนิท
เมื่อเราปรือตาก็จะทำให้เกิดการผ่อนคลายระบบ
ประสาทกล้ามเนื้อ และเราก็นิ่งอย่างนั้นเรื่อยไป
เลย จะมีคำภาวนา สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้ หรือ
ไม่มีก็ไม่เป็นไร

เราก็ทำนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม คล้าย ๆ สำลีที่ลอยฟ่อง
ไปบนท้องฟ้า หรือเหมือนขนนกที่ล่องลอยไป แม้ตกไปบนผิวนํ้า
ก็ไม่จม หรือจะนั่งนิ่ง ๆ อย่างนี้ก็ได้ ให้รู้จักว่า สบาย เป็นอย่างไร
สบายในระดับนี้ ยังไม่ถึงสบายในระดับเข้าถึงความสุข แต่เป็นสบาย
ในระดับที่ไม่เป็นทุกข์ ไม่เครียดก่อน เราค่อย ๆ ฝึกไป เพราะเรา
ยังเป็นนักเรียนอนุบาลอยู่ อย่าไปฝึกแบบคนเก่งแล้วนะ เราฝึก
แบบคนไม่เก่ง สบาย ๆ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ระวังเปลือกตานะ นิ่ง ๆ
อย่างเดียว นิ่งอย่างสบาย ๆ เดี๋ยวตัวจะขยายไปเอง แล้วก็หาย
กลืนไปกับบรรยากาศเลย

ที่นึกเป็นภาพก็จับภาพไว้อย่างละมุนละไม อย่าไปเค้นภาพ
องค์พระหรือดวงแก้วใส ๆ นะ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม สบาย ๆ
อย่าไปใช้กำลังในการบังคับใจเรา อย่าไปฮึดฮัด ให้นั่งแบบเยือกเย็น
ใจใส ๆ ต่างคนต่างทำกันไปเงียบ ๆ นะ
ศุกร์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Facebook